วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สุนทรภู่

สุนทรภู่


        

             พระ สุนทรโวหาร (ภู่) มีนามเดิมว่า ภู่ เป็นบุตรขุนศรีสังหาร (พลับ) และแม่ช้อย เกิดในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือนแปด ขึ้นหนึ่งค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลาสองโมงเช้า ตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙ ที่บ้านใกล้กำแพงวังหลัง คลองบางกอกน้อย

สุนทร ภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าจากกัน ฝ่ายบิดากลับไปบวชที่บ้านกร่ำ เมืองแกลง ส่วนมารดา คงเป็นนางนมพระธิดา ในกรมพระราชวังหลัง (กล่าวกันว่าพระองค์เจ้าจงกล หรือเจ้าครอกทองอยู่) ได้แต่งงานมีสามีใหม่ และมีบุตรกับสามีใหม่ ๒ คน เป็นหญิง ชื่อฉิมและนิ่ม ตัวสุนทรภู่เองได้ถวายตัว เป็นข้าในกรมพระราชวังหลังตั้งแต่ยังเด็ก
สุนทร ภู่เป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน สันทัดทั้งสักวาและเพลงยาว เมื่อรุ่นหนุ่ม เกิดรักใคร่ชอบพอ กับนางข้าหลวง ในวังหลัง ชื่อแม่จัน ครั้นความทราบถึง กรมพระราชวังหลัง พระองค์ก็กริ้ว รับสั่งให้นำสุนทรภู่ และจันไปจองจำทันที แต่ทั้งสองถูกจองจำได้ไม่นาน
เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. ๒๓๔๙ ทั้งสองก็พ้นโทษออกมา เพราะเป็นประเพณีแต่โบราณ ที่จะมีการ ปล่อยนักโทษ เพื่ออุทิศส่วนพระราชกุศลแด่ พระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์ ชั้นสูงเมื่อเสด็จสวรรคต หรือทิวงคตแล้ว แม้จะพ้นโทษ สุนทรภู่และจันก็ยังมิอาจสมหวังในรัก สุนทรภู่ถูกใช้ไปชลบุรี ดังความตอนหนึ่งในนิราศเมืองแกลงว่า
"จะกรวดน้ำคว่ำขันจนวันตาย แม้เจ้านายท่านไม่ใช้แล้วไม่มา"
แต่ เจ้านายท่านใดใช้ไป และไปธุระเรื่องใดไม่ปรากฎ อย่างไรก็ดี สุนทรภู่ได้เดินทางเลยไปถึงบ้านกร่ำ เมืองแกลง จังหวัดระยอง เพื่อไปพบบิดาที่จากกันกว่า ๒๐ ปี สุนทรภู่เกิดล้มเจ็บหนักเกือบถึงชีวิต กว่าจะกลับมากรุงเทพฯ ก็ล่วงถึงเดือน ๙ ปี พ.ศ.๒๓๔๙


วัยฉกรรจ์ (พ.ศ.๒๓๕๐ - ๒๓๕๙) อายุ ๒๑ - ๓๐ ปี
          หลัง จากกลับจากเมืองแกลง สุนทรภู่ได้เป็นมหาดเล็กของพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ พระโอรสองค์เล็ก ของกรมพระราชวังหลัง ซึ่งทรงผนวชอยู่ที่วัดระฆัง ในช่วงนี้ สุนทรภู่ก็สมหวังในรัก ได้แม่จันเป็นภรรยา
สุนทร ภู่คงเป็นคนเจ้าชู้ แต่งงานได้ไม่นาน ก็เกิดระหองระแหงกับแม่จัน ยังไม่ทันคืนดี สุนทรภู่ก็ต้อง ตามเสด็จพระองค์เจ้า ปฐมวงศ์ไปนมัสการพระพุทธบาท จ.สระบุรี ในวันมาฆบูชา สุนทรภู่ได้แต่งนิราศ เรื่องที่สองขึ้น คือ นิราศพระบาท สุนทรภู่ตามเสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ ในเดือน ๓ ปี พ.ศ.๒๓๕๐
สุนทร ภู่มีบุตรกับแม่จัน ๑ คน ชื่อหนูพัด แต่ชีวิตครอบครัวก็ยังไม่ราบรื่นนัก ในที่สุดแม่จันก็ร้างลาไป พระองค์เจ้าจงกล (เจ้าครอก ทองอยู่) ได้รับอุปการะหนูพัดไว้ ชีวิตของท่านสุนทรภู่ช่วงนี้คงโศกเศร้ามิใช่น้อย
ประวัติ ชีวิตของสุนทรภู่ในช่วงปี พ.ศ.๒๓๕๐ - ๒๓๕๙ ก่อนเข้ารับราชการ ไม่ชัดแจ้ง แต่เชื่อว่าท่าน หนีความเศร้าออกไป เพชรบุรี ทำไร่ทำนาอยู่กับหม่อมบุญนาคในพระราชวังหลัง ดังความตอนหนึ่งในนิราศ เมืองเพชร ที่ท่านย้อนรำลึกความหลัง สมัยหนุ่ม ว่า
"ถึงต้นตาลบ้านคุณหม่อมบุญนาค เมื่อยามยากจนมาได้อาศัย
มารดาเจ้าคราวพระวังหลังครรไล มาทำไร่ทำนา ท่านการุญ"


รับราชการครั้งที่ ๑ (พ.ศ.๒๓๕๙ - ๒๓๖๗) อายุ ๓๐ - ๓๘ ปี
          พระ บาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นมหากวีและทรงสนพระทัยเรื่องการละครเป็นอย่างยิ่ง ในรัชสมัยของ พระองค์ ได้กวดขันการฝึกหัดวิธีรำจนได้ที่ เป็นแบบอย่างของละครรำมาตราบทุกวันนี้ พระองค์ยังทรงพระราชนิพนธ์บทละคร ขึ้นใหม่อีกถึง ๗ เรื่อง มีเรื่องอิเหนาและเรื่องรามเกียรติ์ เป็นต้น
มูล เหตุที่สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการ น่าจะเนื่องมาจากเรื่องละครนี้เอง ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับกรณีทอดบัตรสนเท่ห์ เพราะจากกรณี บัตรสนเท่ห์นั้น คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องถูกประหารชีวิตถึง ๑๐ คน แม้แต่ นายแหโขลน คนซื้อกระดาษดินสอ ก็ยังถูกประหารชีวิต ด้วย มีหรือสุนทรภู่จะรอดชีวิตมาได้ นอกจากนี้ สุนทรภู่เป็นแต่เพียงไพร่ มีชีวิตอยู่นอกวังหลวง ช่วงอายุก่อนหน้านี้ก็วนเวียน และเวียนใจอยู่กับเรื่องความรัก ที่ไหนจะมี เวลามายุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมือง
(กรณี วิเคราะห์นี้ มิได้รับรองโดยนักประวัติศาสตร์ เป็นความเห็นของคุณปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ เขียนไว้ในหนังสือ "เที่ยวไปกับสุนทรภู่" ซึ่งเห็นว่ามูลเหตุที่สุนทรภู่ได้เข้า รับราชการ น่าจะมาจากเรื่องละครมากกว่าเรื่องอื่น ซึ่งข้าพเจ้า พิเคราะห์ดูก็เห็นน่าจะจริง ผิดถูกเช่นไรโปรดใช้วิจารณญาณ)
อีกคราวหนึ่งเมื่อทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ตอนศึกสิบขุนสิบรถ ทรงพระราชนิพนธ์บทชมรถทศกัณฐ์ว่า
"๏ รถที่นั่ง บุษบกบัลลังก์ตั้งตระหง่าน
กว้างยาวใหญ่เท่าเขาจักรวาล ยอดเยี่ยมเทียมวิมานเมืองแมน
ดุมวงกงหันเป็นควันคว้าง เทียมสิงห์วิ่งวางข้างละแสน
สารถีขี่ขับเข้าดงแดน พื้นแผ่นดินกระเด็นไปเป็นจุณ"
ทรงพระราชนิพนธ์มาได้เพียงนี้ ทรงนึกความที่จะต่อไปอย่างไรให้สมกับที่รถใหญ่โตปานนั้นก็นึกไม่ออก
จึงมีรับสั่งให้สุนทรภู่แต่งต่อ สุนทรภู่แต่งต่อว่า

"นทีตีฟองนองระลอก กระฉอกกระฉ่อนชลข้นขุ่น
เขาพระเมรุเอนเอียงอ่อนละมุน อนนต์หนุนดินดานสะท้านสะเทือน
ทวยหาญโห่ร้องก้องกัมปนาท สุธาวาสไหวหวั่นลั่นเลื่อน
บดบังสุริยันตะวันเดือน คลาดเคลื่อนจัตุรงค์ตรงมา"

กลอนบทนี้เป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยิ่งนัก นับแต่นั้นก็นับสุนทรภู่เป็นกวีที่ปรึกษาด้วย
อีกคนหนึ่ง ทรงตั้งเป็นที่ขุนสุนทรโวหาร พระราชทานที่ให้ปลูกเรือนที่ท่าช้าง และให้มีตำแหน่งเฝ้าฯ เป็นนิจ
แม้เวลาเสด็จประพาสก็โปรดฯ ให้สุนทรภู่ลงเรือพระที่นั่งไปด้วย เป็นพนักงานอ่านเขียนในเวลาทรงพระราชนิพนธ์บทกลอน


ออกบวช (พ.ศ.๒๓๖๗ - ๒๓๘๕) อายุ ๓๘ - ๕๖ ปี
          วัน ที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๖๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต นอกจากแผ่นดินและผืนฟ้าจะร่ำไห้ ไพร่ธรรมดาคนหนึ่งที่มีโอกาสสูงสุดในชีวิต ได้เป็นถึงกวีที่ปรึกษา ในราชสำนักก็หมดวาสนาไปด้วย
"ทรง ขัดเคืองสุนทรภู่ว่าแกล้งประมาทอีกครั้งหนึ่ง แต่นั้นก็ว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมึนตึงต่อสุนทรภู่มา จนตลอดรัชกาลที่ ๒ ... "
จะ โดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ เพียงคิดได้ด้วยเฉพาะหน้าตรงนั้นก็ตาม สุนทรภู่ก็ได้ทำการไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย ประกอบกับ ความอาลัยเสียใจหนักหนาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สุนทรภู่ จึงลาออกจากราชการ และตั้งใจบวชเพื่อสนอง พระมหากรุณาธิคุณ สุนทรภู่ได้เผยความในใจนี้ ในตอนหนึ่ง ของนิราศภูเขาทอง ว่า
"จะสร้างพรตอตส่าห์ส่งบุญถวาย ประพฤติฝ่ายสมถะทั้งวสา เป็นสิ่งของฉลองคุณมุลิกา ขอเป็นข้าเคียงพระบาททุกชาติไป"
เมื่อ บวชแล้ว ท่านได้ออกจาริกแสวงบุญไปยังที่ต่างๆ เล่ากันว่า ท่านได้เดินทางไปยังหัวเมืองต่างๆ หลายแห่ง เช่นเมืองพิษณุโลก เมืองประจวบคีรีขันธ์ จนถึงเมืองถลางหรือภูเก็ต และเชื่อกันว่า ท่านคงจะเขียนนิราศเมืองต่างๆ นี้ไว้อย่างแน่นอน เพียงแต่ ยังค้นหาต้นฉบับไม่พบ
ชีพจร ลงเท้าสุนทรภู่อีกครั้ง เมื่อท่านเกิดไปสนใจเรื่องเล่นแร่แปรธาตุและยาอายุวัฒนะ ถึงแก่อุตสาหะ ไปค้นหา ทำให้เกิด นิราศวัดเจ้าฟ้า และนิราศสุพรรณ ปี พ.ศ.๒๓๘๓ สุนทรภู่มาจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม ท่านอยู่ที่นี่ได้ ๓ พรรษา คืนหนึ่งเกิดฝันร้าย ว่าชะตาขาด จะถึงแก่ชีวิต จึงได้แต่งเรื่องรำพันพิลาป ซึ่งทำให้ทราบเรื่องราว ในชีวิตของท่านอีก เป็นอันมาก จากนั้นจึงลาสิกขาบทเมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๕ เพื่อเตรียมตัวจะตาย


รับราชการครั้งที่ ๒ (พ.ศ.๒๓๘๕ - ๒๓๙๘) อายุ ๕๖ - ๖๙ ปี
          เมื่อ สึกออกมา สุนทรภู่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งทรง พระยศเป็นสมเด็จพระเจ้า น้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ โปรดอุปถัมภ์ให้สุนทรภู่ ไปอยู่พระราชวังเดิมด้วย ต่อมา กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ทรงพระเมตตา อุปการะสุนทรภู่ด้วย กล่าวกันว่า ชอบพระราชหฤทัย ในเรื่องพระอภัยมณี จึงมีรับสั่งให้สุนทรภู่แต่งต่อ นอกจากนี้ สุนทรภู่ยังแต่งเรื่อง สิงหไตรภพถวายกรมหมื่น อัปสรฯ อีกเรื่องหนึ่ง
          แม้ สุนทรภู่จะอายุมากแล้ว แต่ท่านก็ยังรักการเดินทางและรักกลอนเป็นที่สุด ท่านได้แต่งนิราศไว้อีก ๒ เรื่องคือนิราศพระประธม และนิราศเมืองเพชร สุนทรภู่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระสุนทรโวหาร" ในปี พ.ศ.๒๓๙๔ ขณะที่ท่านมีอายุ ได้ ๖๕ ปีแล้ว ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๘ รวมอายุได้ ๖๙ ปี

รัชกาลที่ 1

รัชกาลที่ 1

ประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 1
( พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ) ( พ.ศ. 2325 - 2352 )


พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง เกิดเมื่อ แรม 5 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง จุลศักราช 1098 ตรงกับวันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นบุตรคนที่ 4 ของหลวงพินิจอักษร ( ทองดี ) กับ นางดาวเรือง ( หยก ) มีพี่น้องดังนี้
คนที่ 1 เป็นหญิงชื่อ สา ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น พระเจ้าพี่นางเธอ กรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี
คนที่ 2 เป็นชายชื่อ ขุนรามณรงค์ ถึงแก่กรรมก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2
คนที่ 3 เป็นหญิงชื่อ แก้ว ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอ กรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์
คนที่ 4 เป็นชายชื่อ ทองด้วง ( รัชกาลที่ 1 )
คนที่ 5 เป็นชายชื่อ บุญมา ( กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท )
เมื่อเจริญวัยได้เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในสมัยสมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิจ ( ขุนหลวงดอกมะเดื่อ )
พ.ศ. 2300 อายุ 21 ปีได้บวช ณ วัดมหาทลาย เมื่อลาสิกขาบทแล้วกลับเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กหลวง
พ.ศ. 2303 อายุ 24 ปี ได้สมรสกับนางสาวนาก ธิดาของคหบดีตำบลอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม
พ.ศ. 2304 อายุ 25 ปีในสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาสอมรินทร์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นหลวงยกบัตรเมืองราชบุรี
พ.ศ. 2311 ในสมัยพระเจ้าตากสิน ได้รับราชการมีฐานันดรศักดิ์เป็น พระราชวรินทร์ ( กรมพระตำรวจหลวง )
เมื่อเสร็จศึกในการปราบชุมนุมพิมาย ได้เลื่อนขึ้นเป็น พระยาอภัยรณฤทธิ์
พ.ศ. 2313 เมื่อครั้งปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง มีความชอบได้เป็นพระยายมราช และทำหน้าที่สมุหนายกอีกด้วย
พ.ศ. 2314 ได้เลื่อนขึ้นเป็น เจ้าพระยาจักรี คุมทัพไปรบกับพม่าเสร็จศึกพม่าแล้ว ได้ยกทัพไปตีเขมรมาเป็นเมืองขึ้น พ.ศ. 2319 เป็นแม่ทัพไปตีเขมรป่าดง ( สุรินทร์ ขุขันธ์ สังขะ ) แคว้นลาวทางใต้ ได้เมืองจำปาศักดิ์ สีทันดร อัตตะปือ เสร็จศึกได้เลื่อนขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พิลึกมหมา ทุกนัคราระอาเดช นเรศรราช สุริยวงศ์ องค์อัครบาทมุลิกากร บวรรัตนปรินายก
พ.ศ. 2324 ยกทัพไปปราบจลาจลในเขมรแต่ไม่สำเร็จเพราะเกิดกบฏในกรุงธนบุรีต้องยกทัพกลับ
พ.ศ. 2325 อาณาประชาราษฏร์ กราบทูลเชิญขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อ 6 เมษายน 2325 อยู่ในราชสมบัติ 27 ปี เสด็จสวรรคต 7 กันยายน 2352 รวมพระชนมายุ 73 พรรษา ครองราชย์ นาน 28 ปี มีโอรสธิดารวม 42 พระองค์


รัชกาลที่ 1
การตั้งพระบรมวงศานุวงศ์
เมื่อเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ ปราบดาภิเษกขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ( รัชกาลที่ 1 ) ก็ทรงประกาศสถาปนา พระราชวงศ์ ตามโบราณราชประเพณีปราบดาภิเษก ประดิษฐานพระราชวงศ์ใหม่
ชื่อพระราชนามเต็ม
สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร ธรณินทราธิราชรัตนากาศภาศกรวงษ องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรนาถนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไศรย สมุทัยคโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร หริหรินทราชาดาธิบดี ศรีสุวิบุลยคุณอัขณิฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราช เดโชไชยพรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร ภูมินทรปรมาธิเบศรไลกเชฐวิสุทธรัตนมงกุฏ ประเทศคตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว คือ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
"นามมหาราช" ได้เมื่อครั้งเฉลิมฉลองกรุงเทพมหานครครบ 200 ปี ในสมัยรัชกาลปัจจุบัน

เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเคยมีฐานันดรศักดิ์ เป็นเจ้าพระยาจักรีมานานจึงตกลงเรียก พระราชวงศ์ใหม่ว่า “พระบรมราชวงศ์จักรี”


พระราชลัญจกร ประจำรัชกาลที่ 1

เป็นรูปปทุมอุณาโลม มีอักขระ "อุ" อยู่กลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวอันเป็น พฤกษชาติที่เป็นสิริมงคลในพุทธศาสนา ตราอุณาโลมมีรูปร่างคล้ายสังข์เวียนขวา อยู่ในกรอบลายกนก เริ่มใช้คราวพระราช พิธีบรมราชาภิเษก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘





นายบุญมา
การตั้งพระบรมวงศานุวงศ์
ทรงสถาปนาพระราชวงศ์และข้าราชการที่ทำความดีความชอบขึ้นดำรงตำแหน่งที่สำคัญดังนี้
1. โปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราช ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช หรือ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ( วังหน้า )นามว่า “ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
2. สถาปนาพระโอรสองค์ใหญ่ (
ฉิม ) เป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ต่อมาภายหลังได้เป็นกรมพระราชวังบวรมหาอิศรสุนทร ในตำแหน่งวังหน้า หลังจาก กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทิวงคตแล้ว
3. สถาปนาพระโอรสองค์รอง (
จุ้ย ) เป็นเจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์
4. สถาปนาพระยาสุริยอภัย (
ทองอิน ) พระเจ้าหลานเธอ เป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ หลังจากเสร็จศึกสงครามเก้าทัพแล้ว พ.ศ. 2328 ได้ขึ้นเป็น กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข ( วังหลัง ) ซึ่งตำแหน่งวังหลังนี้ มีครั้งเดียวในสมัยรัตนโกสินทร์
5. สถาปนาเจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ โอรสของพระเจ้าตากสินอันเกิดจากพระราชธิดาองค์ใหญ่ของรัชกาลที่ 1 ซึ่งมีพระนามเดิมว่า ( ฉิมใหญ่ ) ขึ้นเป็น เจ้าฟ้า
กรมขุนกระษัตรานุชิต
นอกจากนี้ยังได้โปรดให้สถาปนา สมเด็จพระพี่นางเธอ สมเด็จพระเจ้าน้องญาเธอ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ ขึ้นเป็นเจ้าต่างกรม ตั้งแต่กรมหมื่น จนถึงกรมพระอีก รวมหลายพระองค์ด้วยกัน
พระราชลัญจกร คือตราที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้ประทับ กำกับพระปรมาภิไธยและประทับกำกับเอกสารสำคัญ ที่ออกในพระปรมาภิไธย เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงพระราชอำนาจ และพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินหรือประจำรัชกาลนั้น ยังเป็นเครื่องมงคลอีกด้วย ดังที่ปรากฎอยู่ในหมวดพระราชสิริซึ่งประกอบด้วย พระสุพรรณบัตร ดวงพระราชสมภพและ พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน ซึ่งจะต้องเชิญขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พร้อมกับเครื่องมงคลอื่น ๆ
พระราชลัญจกรมี ๔ ประเภท คือ
1.
พระราชลัญจกรสำหรับแผ่นดิน ใช้ประทับกำกับเอกสารสำคัญที่ออกในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
เช่น พระราชลัญจกรมหาโองการ พระราชลัญจกรไอยราพต
2. พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน หรือ
ประจำรัชกาล ใช้ประทับกำกับพระบรมนามาภิไธยในเอกสารสำคัญ
3.
พระราชลัญจกรประจำพระองค์ ใช้ประทับกำกับพระบรมนามาภิไธย ในเอกสารสำคัญส่วนพระองค์
ที่ไม่เกี่ยวด้วยราชการแผ่นดิน
4.
พระราชลัญจกรประจำเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ ใช้ประทับประกาศนียบัตรเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ตามที่
กำหนดไว้ 



การสร้างราชธานี


 วัดประจำรัชกาลที่ 1 (วัดโพธิ์ )

 แผนผังบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์

พระบรมมหาราชวัง


 แต่เดิมแผ่นดินอันเป็นที่ตั้งของกรุงเทพมหานครใน ปัจจุบัน สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาระหว่าง ปากคลองบางกอกน้อยลงมาถึงปากคลองบางกอกใหญ่ เป็นแผ่นดินเดียวกัน มีชื่อเรียกกันในสมัยนั้นว่า “บางกอก” ตำบลบางกอกตั้งอยู่ ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม แม่น้ำเจ้าพระยาแต่เดิม ไหลตามคลองบางกอกน้อย คลองบางระมาด คลองตลิ่งชัน และคลองบางกอกใหญ่ ในสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช ( พ.ศ. 2079 – 2089 ) โปรดให้ ขุดคลองลัด เริ่มตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อยไปออกแม่น้ำเก่าหน้าวัดอรุณราชวราราม เรียกว่า คลองลัดบางกอกใหญ่ ต่อมากลายเป็น แม่น้ำตรงหน้า ท่าราชวรดิษฐ์ เมื่อน้ำไหลสะดวกขึ้น เลยกลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาใน ปัจจุบัน ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิมกลายเป็นคลองบางกอกน้อย คลองตลิ่งชั่น คลองบางระมาด คลองบางกอกใหญ่ในที่สุด ทำให้ตำบล บางมะกอก แบ่งออกเป็นสองส่วนคือฝั่งตะวันตกเรียก ฝั่งธนบุรี ฝั่งตะวันออกเรียก ฝั่งพระนคร ( บริเวณที่สร้างพระบรมมหาราชวังในปัจจุบัน ) เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติแล้ว ก็โปรดให้ ย้ายราชธานี จากฝั่งตะวันตก มาอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน ด้วยเหตุผลหลายประการดังนี้
1. ด้วยเหตุผลทางด้านยุทธศาสตร์ เพราะกรุงธนบุรีมีสภาพเป็นเมืองอกแตก มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหล ผ่ากลางเมืองยากแก่การป้องกันข้าศึกเข้าโจมตี
เหมือนเมื่อครั้งพระองค์เคยรักษาเมืองพิษณุโลก ในศึกอะแซหวุ่นกี้ถ้าย้ายพระนครมาอยู่ทางฝั่งตะวันออกเพียงฝั่งเดียว ถ้ามีข้าศึกมาโจมตี ีก็จะป้องกันได้ง่าย
2. สถานที่ตั้งกรุงธนบุรีคับแคบ เพราะมีวัดขนาบสองด้านคือ วัดอรุณราชวราราม ( วัดแจ้ง ) และ วัดโมฬีโลกยาราม ( วัดท้ายตลาด )
ไม่เหมาะที่จะขยายเมืองให้เจริญยิ่งขึ้นต่อไปได้
3. ฝั่งธนบุรีเป็นท้องคุ้ง น้ำเซาะตลิ่งทรุดพังอยู่เสมอ อาจเป็นอันตรายต่อพระราชฐานได้ เมื่อมีพระราชดำริดังนี้แล้ว ก็โปรดให้พระยาธรรมา ( บุญรอด )
และพระยาวิจิตรานาวี เป็นแม่กองคุมช่างและไพร่พล สร้างพระนครใหม่ โดยย้ายชาวจีน ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณที่จะสร้างพระนคร ไปอยู่บริเวณ คลองสามปลื้มจนถึงคลองวัดสามเพ็ง ( ตลาดสำเพ็งในปัจจุบัน ) โดยทำพิธียกเสาหลักเมือง ในวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2325 ตรงกับ วันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีขาล จุลศักราช 1144 โดยเกณฑ์ ชาวเขมร ลาว และข้าราชการหัวเมือง เข้ามา ช่วยระดมกัน ขุดลอกคูคลอง สร้างกำแพงเมือง ปราสาท ราชวัง ในการสร้างพระนครแห่งใหม่นี้ใช้เวลานาน 3 ปี เสร็จแล้ว โปรดให้มี พระราชพิธี สมโภชอย่างมโหฬาร รวม 3 วัน และขนานนามพระนครแห่งใหม่ว่า กรุงเทพ มหานครบวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพนพรัตน์ ราชธานี บุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน มหาสถานอมรพิมาน อวตารสถิต สักกทัตติย วิษณุกรรมประสิทธิ์ ( สมัยรัชกาลที่ 4 เปลี่ยน กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์ เป็นกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ ฯ ) ซึ่งแปลได้ความว่า “เมืองแห่งเทพยดาเป็นเมืองใหญ่เป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกตเป็นเมืองรบ ไม่ชนะของพระอินทร์ เป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ของโลก อันประกอบด้วยรัตน 9 ประการ เป็นเมืองแห่งความร่มเย็นเป็นสุข ประกอบด้วยพระราชวังอันยิ่งใหญ่ ซึ่งเปรียบเสมือนสวรรค์อันเป็นที่ประทับ ของพระนารายณ์ เมืองที่พระอินทร์เป็น ผู้มอบให้ โดยให้พระวิษณุกรรมเป็นผู้สร้าง”พระมหาปราสาท และราชมณเฑียร ในพระบรมมหาราชวัง
ที่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประกอบด้วย

1. พระที่นั่งอมรินทราภิเษก มหาปราสาท สร้างด้วยไม้ทั้งองค์ โดยลอกแบบมาจากพระที่นั่งสรรเพชญปราสาท
พระที่นั่งองค์นี้ใช้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในปี พ.ศ. 2328 ต่อมาเกิดฟ้าผ่า ไฟไหม้ ในปี 2332 จึงโปรด ให้รื้อ แล้วสร้างขึ้นใหม่ ให้เหมือน พระที่นั่งสุริยาศอมรินทร์ แล้วพระราชทานนามว่า พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท


2. พระมหามณเฑียร เป็นพระที่นั่งหมู่ประกอบด้วย
2.1 พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน
2.2 พระที่นั่งไพศาลทักษิณ
2.3 พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน
2.4 พระที่นั่งเทพสถานพิลาศ
2.5 พระที่นั่งเทพอาสน์พิไล
2.6 หอพระสุราลัยพิมาน
2.7 หอพระธาตุมณเฑียร


3. พระที่นั่งดุสิตาภิรมย์
4. พระที่นั่งเย็น
5. พระที่นั่งพลับพลาสูง ( สุทไธสวรรค์ )
6. พระที่นั่งทอง


การสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ( วัดพระแก้ว )
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงมีความคิดที่จะสร้างราชธานีแห่งใหม่ ให้มีความเจริญ รุ่งเรือง เหมือนกรุงศรีอยุธยา จึงสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามไว้ในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับ วัดพระศรีสรรเพชญที่กรุงศรีอยุธยา และสร้างปราสาทราชมณเฑียร สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัดดังนี้
1. พระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
2. หอพระมณเฑียรธรรม สร้างกลางสระเป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎกและเป็นที่แปลพระราชสาส์น
3. ศาลารายรอบพระอุโบสถ 12 หลัง
4. พระเจดีย์ทอง 2 องค์
5. หอระฆัง
ในปี พ.ศ. 2331 ภายหลังที่ชำระพระไตรปิฎกเสร็จแล้ว ได้นำพระไตรปิฏกมาไว้ที่ หอมณเฑียรธรรมและจัดให้มีมหรสพฉลอง มีการจุดดอกไม้ไฟ ทำให้เกิดเพลิงไหม้ จึงต้องสร้างที่เก็บพระไตรปิฎกขึ้นใหม่ พร้อมกับสร้างสิ่งอื่นเพิ่มเติมดังนี้ สร้างพระมณฑปไว้เก็บพระไตรปิฎก หอพระมณเฑียรธรรม สร้างหอพระเทพบิดร หอพระนาค และสร้างพระปรางค์แปดองค์


   

 
 
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.sainampeung.ac.th
เพื่อใช้สำหรับการศึกษา

รัชกาลที่ 2


พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 (พ.ศ. 2310 - 2367)


มีพระนามเดิมว่า ฉิม เป็นพระโอรสพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประสูติแต่สมเด็จพระอม รินทราบรมราชินี ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 เมื่อยังทรง พระเยาว์ ได้ทรงศึกษาอักขรสมัยในสำนักสมเด็จพระวนรัต (ทองอยู่) วัดบางหว้าใหญ่ ด้านวิชาการรบ สำหรับขัตติยราชกุมารนั้น พระองค์ได้ทรงศึกษาจากประสบการณ์ที่เป็นจริง กล่าวคือได้ทรงตามเสด็จ พระบรมชนกนาถไปในราชการสงครามทุกครั้ง ซึ่งพระปรีชาสามารถและความจัดเจนนี้ย่อมเป็นที่ ประจักษ์ จนได้รับโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระองค์ท่านขึ้นเป็นกรมพรราชวังบวรสถานมงคล ที่พระมหาอุปราชแทน
           พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระ องค์ที่ 2 แห่งพระราชวงศ์จักรี เมื่อ พ.ศ. 2352
           พระราชกรณียกิจสำคัญที่ทรงเริ่มทำเร่งด่วนครั้งแรกคือ การรวบรวมผู้คนที่กระจัดกระจายกันอยู่ตั้งแต่ครั้ง กรุงแตกให้อยู่ตั้งมั่นเพื่อความเป็นปึกแผ่นของประเทศ โดยออกพระราชกำหนดสักเลข และ ทำทะเบียนราษฎรอย่างจริงจัง และได้ทรงผ่อนผันการเข้าเดือนเหลือเพียงปีละ 3 เดือน คือ เข้าเดือนออก สามเดือน นอกจากนี้ยังได้ทรงออกกฎหมายฉบับสำคัญอีกฉบับหนึ่งเรียกว่า พระราชกำหนดเรื่องห้าม สูบฝิ่น ขายฝิ่น
           ในการทำนุบำรุงความเจริญของบ้านเมืองก็มีการก่อสร้างอาคารสถานที่ต่างๆ และได้มีการแต่ง สำเภาไปค้าขายยังเมืองต่างๆ และเมืองจีนมากขึ้น ทำให้การเศรษฐกิจของชาติดีขึ้นมาก และเหตุที่มีการ แต่งเรือสำเภาไปค้าขายต่างประเทศเป็นจำนวนมาก เป็นผลให้เกิดการใช้ธงประจำชาติ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำสัญญลักษณ์ช้างเผือกสำคัญที่ได้มาสู่พระบารมี 3 เชือก ประทับลงบนธงสีแดง ธงประจำชาติไทยจึงมีขึ้นเป็นครั้งแรก
           ด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงทำนุบำรุง ตลอดจนทรงเป็นกษัตริย์ศิลปินโดยแท้จริง

รัชกาลที่ 3

 

รัชกาลที่ 3 มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าทับ” เป็นพระราชโอรสของรัชกาลที่ 2 กับเจ้าจอมมารดาเรียม ( กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย ) ประสูติ ณ พระราชวังเดิม เมื่อ วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม 2330 พอพระชนมายุ ครบกำหนดโสกันต์ รัชกาลที่ 1 ได้โปรดให้จัดทำ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ต่อมาได้บรรพชาและอุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเสด็จจำพรรษา ณ วัดราชสิทธาราม
เมื่อรัชกาลที่ 2 เสด็จขึ้นเสวยราชย์สมบัติแล้ว ในปี พ.ศ. 2356 ได้โปรดสถาปนาให้พระองค์เจ้าชายทับ เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงกำกับราชการกรมท่า และเมื่อสมเด็จกรมพระราชวังบวร มหาเสนานุรักษ์ ทิวงคตแล้ว ก็ได้สิทธิ์ขาดในการบังคับบัญชา กรมพระตำรวจทำหน้าที่ว่าความฎีกาต่าง ๆ อีกด้วย
ในปี พ.ศ. 2363 ได้เป็นแม่ทัพคุมพล 3,000 คนไปคอยป้องกันพม่าที่จะยกทัพมาทางด่านเจดีย์สามองค์
เป็นเวลาปีเศษ แต่พม่าก็ไม่ยกทัพมา จึงได้เสด็จกลับ พระองค์ได้รับราชการเป็นที่พอพระราชหฤทัยของรัชกาลที่ 2
เป็นอย่างดียิ่ง ในทุก ๆ ด้านและที่สำคัญคือเรื่องการค้าขาย ของกรมพระคลังสินค้าซึ่งทำรายได้ ให้กับประเทศอย่างมาก จนมีพระราชดำรัสล้อเรียกพระองค์ว่า “เจ้าสัว”
ในปี พ.ศ. 2367 ได้เสด็จขึ้นเสวยราชย์สมบัติเป็นรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาศกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยคโรมนต์ สกลจักรวาลาธิเมนทรต์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีสุวิบูลย์ คุณอกณิฐ ฤทธิราเมศวรมหันต์ บรมธรรมิกราชาธิราช เดโชไชย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร์ โลกเชฐวิสุทธิ์ รัตนมงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว) ขณะมีพระชนมายุ 37 พรรษา
ทรงดำรงอยู่ในราชสมบัตินาน 27 ปี ก็เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2394 รวมพระชนมายุ 64 พรรษา
พระองค์ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้งสิ้น 51 พระองค์



 พระราชลัญจกรเป็นรูปปราสาท เป็นพระราช สัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย ว่า "ทับ" อันหมายถึง ที่อยู่ หรือ เรือน


ขอขอบคุณข้ิอมูลดีๆ 
จาก http://www.sainampeung.ac.th

รัชกาลที่ 4

รัชกาลที่ 4



ข้อมูลส่วนพระองค์
พระบรมนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติวงศ์ พงอิศวรกระษัตริย์ ขัติยราชกุมาร
วันพระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 วันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด
วันสวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 วันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง เวลาทุ่มเศษ
พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระราชมารดา สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
พระมเหสี สมเด็จพระนางเจ้า โสมนัสวัฒนาวดี
พระราชบุตร 82 พระองค์


พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็น รัชกาลที่ ๔ แห่งราชจักรีวงศ์ทรงมีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมติเทวาวงศ์พงษ์อิศรกษัตริย์" 

เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีชวด ตรงกับวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๔๗
ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ณ นิวาสสถานในพระราชนิเวศน์เดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวราราม

เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๔๓ และเป็นลำดับที่ ๒ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับสมเด็จพระศรีสุริเยนทร์


พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า “เจ้าฟ้ามงกุฎ” เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ณ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี เมื่อ 18 ตุลาคม พุทธศักราช 2347
เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกอบพระราชพิธีลงสรง เฉลิมพระอำนาจจารึกในพระสุบรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติเทววงศ์พงศ์อิศวร กษัตริย์ขัตติยราชกุมาร
  
เมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ทรงประกอบพระราชพิธีโสกัณฑ์ จากนั้นทรงผนวชเป็นสามเณรอยู่ 7 เดือน จึงลาผนวช
 
เจ้าฟ้ามงกุฎ ทรงศึกษาเล่าเรียนอักษรสยาม ตั้งแต่เมื่อครั้งประทับ ณ พระราชวังเดิมในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) วัดโมลีโลกยาราม          

เมื่อ พระชนมายุ 20 พรรษา ทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ระยะแรกทรงจำพรรษา ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส ) ต่อมาได้เสด็จมาประทับ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เพื่อทรงศึกษาพระปริยัติธรรม ทรงสอบได้ เปรียญ 5 ประโยค ทรงเชี่ยวชาญรอบรู้ในพระไตรปิฎก จากนั้นได้เสด็จไปประทับ ณ วัดสมอราย
            
ใน ขณะที่ทรงผนวชอยู่นั้น รัชกาลที่ 2 ได้เสด็จสวรรคต ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ได้ทูลเชิญ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร ขึ้นเป็นรัชกาลที่ 3 ทั้ง ๆ ที่พระองค์มีสิทธิ์ในราชบัลลังก์อย่างพร้อมบูรณ์ ตามโบราณราชพระเพณี พระองค์จึงตัดสินพระทัยผนวชเป็นภิกษุในผ้ากาสาวพัสตร์ต่อไป ขณะที่ทรงผนวชอยู่ได้ศึกษาภาษาอังกฤษจนสามารถพูดและเขียนได้เป็นอย่างดี นับว่าเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์แรกในทวีปเอเชียที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ นอกจากนี้ยีงทรงศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมืองและศาสนา ที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษได้ด้วยพระองค์เอง             ทรงปรับปรุงแก้ไขวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ให้เคร่งครัดขึ้น ทำให้เกิดพระสงฆ์คณะใหม่ขึ้น เรียกว่า ธรรมยุติกนิกาย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เชิญเสด็จมาประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
            
เมื่อ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้ามงกุฎ จึงได้ลาผนวช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ วิสุทธสมมติเทพยพงศ์วงษาดิศวรกระษัตริย์ วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันบรมมหาจักรพรรดิราชสังกายบรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตรพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เมื่อ 2 เมษายน 2394 ขณะที่มีพระชนมายุได้ 47 พรรษา ทรงมีพระนามย่อว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอยู่ในสมณเพศ 27 พรรษา ทรงดำรงสิริราชสมบัติเป็นระยะเวลา 17 ปี เสด็จสวรรคต 1 ตุลาคม 2411 รวมพระชนมายุ 65 พรรษา มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 82 พระองค์

พระราชลัญจกร
เป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ ในกรอบรูปกลมรี เป็นพระราชสัญลักษณ์์ ของพระบรมนามาภิไธยว่า "มงกุฎ" มีฉัตรตั้งขนาบพระมหาพิชัยมงกุฎทั้งสองข้างมีพานทองสองชั้นวางแว่นสุริยกาล หรือเพชรข้างหนึ่งวางสมุดตำราข้างหนึ่ง พระแว่นสุริยกาลหรือเพชร มาจาก ฉายา เมื่อทรงผนวช ว่า "วชิรญาณ" ส่วนสมุดตำรามาจากการที่ได้ทรง ศึกษาและมีความเชี่ยวชาญในด้าน อักษรศาสตร์และดาราศาสตร์


พระราชประวัติสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี             

สมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าหญิงรำเพย เป็นพระธิดา ในสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ พระราชโอราสในรัชกาลที่ 3 กับพระชนนีน้อย เมื่อยังทรงพระเยาว์ ได้เสด็จเข้าไปประทับในพระบรมมหาราชวัง ทรงศึกษาอักขรวิธีและราชประเพณี ทรงได้รับสถาปนาเป็นพระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ ต่อมาในพุทธศักราช 2395 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาตำแหน่งพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระนางเจ้ารำเพยภมราภิรมย์ ขณะมีพระชนมายุ 18 พรรษา มีพระราชโอรสและพระราชธิดา 4 พระองค์คือ
              
1. เจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ ต่อมาได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 5 แห่ง ราชวงศ์จักรี ทรงพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

2. เจ้าฟ้าหญิงจันทรมณฑล โสภณภควดี ต่อมาทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงจันทรมณฑล โสภณภควดี กรมหลวงวิสุทธิกษัตริย์ สิ้นพระชนเมื่อพระชนมายุ 10 พรรษา
              
3. เจ้าฟ้าชายจาตุรนต์รัศมี ต่อมาทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ เป็นต้นราชสกุล จักรพันธุ์
              
4. เจ้าฟ้าชายภาณุรังษีสว่างวงศ์ ต่อมาทรงได้รับสถาปนาเป็น จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมวงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศืวรเดช ทรงเป็นต้นราชสกุล ภาณุพันธุ์
               
สมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2404 ขณะพระชนมายุ 28 พรรษา

ด้านการปกครอง การจัดระเบียบการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 4 ยังคงใช้รูปแบบเดิมเหมือนสมัยรัชกาลที่ 3 กล่าวคือ
โปรดให้ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ขึ้นดำรงตำแหน่ง วังหน้า แต่ยกฐานะเทียบเท่าพระมหากษัตริย์ พระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศร์ มหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ( พระนามเดิมเจ้าฟ้าจุธามณี ) เป็นพระอนุชาร่วมพระชนนีเดียวกันกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
          

ในสมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มมีการปฏิรูปประเพณีที่เกี่ยวกับการปกครองบางประการ ได้แก่
 
1. การใช้กฎหมาย
ในสมัยรัชกาลที่ 4 อารยธรรมตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทในวงราชการอย่างมาก กฎหมายตราสามดวง ที่ไทยเคยใช้อยู่ไม่สามารถนำมาใช้บังคับได้ทั้งหมด เนื่องจากชาวต่างชาติมักใช้เป็นข้ออ้างอยู่เสมอว่า กฎหมายไทยป่าเถื่อนล้าสมัย กฎหมายบางข้อไม่ยุติธรรมหรือบางครั้งรุนแรงเกินกว่าเหตุ จึงได้มีการตรากฎหมายขึ้นใหม่เกือบ 500 ฉบับ นอกจากนี้ยังมีประกาศต่าง ๆ ที่มีผลบังคับใช้เหมือนกฎหมายอีกมากมาย อาทิ ประกาศให้ชาวกรุงรับจ้างฝรั่งได้ ประกาศห้ามนำคนในบังคับของชาวต่างชาติมาเป็นทาส ประกาศให้ราษฎรและขุนนางสามารถเป็นเจ้าของละครผู้หญิงได้ เป็นต้น นอกจากนี้ได้โปรดให้ตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวังนามว่า โรงอักษรพิมพการ เพื่อใช้พิมพ์เอกสารต่าง ๆ ของทางราชการ โดยพิมพ์ออกมาในรูปหนังสือพิมพ์แถลงข่าวของทางราชการ โดยพระราชทานนามว่า “ราชกิจจานุเบกษา”
 
 2. การพิพากษาคดีและการศาล
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศาล ส่วนใหญ่ยังคงใช้แบบเดิมยังไม่ได้รวมเป็นกระทรวงเดียวกัน การพิจารณาคดีความต่าง ๆ ได้โปรดให้ยกเลิกวิธีการพิจารณาพิพากษาตามจารีตนครบาลอันทารุณโหดร้ายเสีย มีการจัดตั้ง ศาลคดีต่างประเทศหรือศาลต่างประเทศ ขึ้น เพื่อใช้ว่าความในกรณีที่คนไทยเป็นจำเลย โดยมีเรื่องราวกับชาวต่างชาติ ที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ในเมืองไทย หรือเข้ามาติดต่อค้าขายกับคนไทย มีการจัดตั้งศาลกงสุลขึ้นเป็นครั้งแรก โดยจัดตั้งขึ้นอันเนื่องมาจากการทำสนธิสัญญากับชาติตะวันตก เมื่อเกิดกรณีพิพาทระหว่างคนไทยกับคนในบังคับของชาวต่างชาติหรือชาวต่างชาติ แล้ว ถ้าเป็นความอาญาและคนในบังคับของชาวต่างชาติหรือชาวต่างชาติเป็นผู้กระทำผิด กงสุลประเทศนั้น ๆ จะเป็นผู้พิจารณาพิพากษาโทษ ตามกฎหมายของเขาเอง ลักษณะอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยไม่มีเอกราชในทางศาลหรือที่เรียกกัน ว่า ไทยเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
 
3. กำเนิดตำรวจนครบาล
ได้มีการจัดตั้งตำรวจพระนครบาลหรือโปลิส Polis ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2404 โดยได้จ้างชาวยุโรปและชาวมลายูซึ่งเคยเป็นนายโปลิสมาก่อนมาเป็นครูฝึก การจัดตั้งตำรวจพระนครบาลในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันอันตรายอันจะ เกิดขึ้นแก่ชีวิตและทรัพย์สินของชาวยุโรป ตลอดจนรักษาความสงบเรียบร้อยภายในพระนคร โดยเริ่มปฏิบัติงานครั้งแรกบริเวณตลาดสำเพ็ง
 
4. การฝึกทหารแบบยุโรป
ได้จ้าง ร้อยเอกอิมเปย์ Captain Impey ซึ่งเป็นทหารนอกประจำการของกองทัพบกอังกฤษ ประจำประเทศอินเดีย เข้ามาเป็นครูฝึก จัดระเบียบทหารบกใหม่ตามแบบตะวันตก เมื่อ พ.ศ. 2394 การเรียกชื่อ ยศ ตำแหน่ง และการบอกแถวทหาร ใช้ภาษาอังกฤษทั้งสิ้น จึงเรียกการฝึกทหารหน่วยนี้ว่า
ทหารเกณฑ์หัดอย่างยุโรปหรือทหารเกณฑ์หัดอย่างฝรั่ง ในการฝึกทหารครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นทหารประจำพระองค์ ซึ่งมีถึง 2 กอง คือกองทหารรักษาพระองค์ปืนปลายหอกข้าหลวงเดิมและกองทหารหน้า ในปี พ.ศ. 2395 ได้จ้างทหารนอกราชการชาวอังกฤษอีกคนหนึ่งชื่อ
ร.อ.โทมัส ยอร์ช นอกซ์ เข้ามาฝึกทหารทำนองเดียวกันกับร้อยเอกอิมเปย์ ให้กับวังหน้าอีกด้วย
ต่อมาในตอนปลายรัชกาลได้จ้างชาวฝรั่งเศสชื่อ ลามาส เข้ามาฝึกทหารแบบยุโรปแต่ใช้ภาษาฝรั่งเศส การฝึกทหารที่กล่าวมานี้เป็นการฝึกเพื่อใช้เป็นทหารรักษาพระองค์เท่านั้น การป้องกันประเทศยังคงใช้วิธีเดิมทั้งสิ้น





5. ปรับปรุงการทหารเรือ
ได้โปรดให้เปลี่ยนแปลง
รือรบใหม่ จาก เรือกำปั่นรบใช้ใบมาเป็น เรือกำปั่นรบกลไฟ โดยมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ( ช่วง บุนนาค ) เสนาบดีสมุหพระกลาโหมเป็นผู้อำนวยการต่อเรือกำปั่นและบังคับบัญชาเรือกลไฟ หลวง ซึ่งจัดเป็นกรมหนึ่งเรียกว่า กรมอรสุมพล ถือว่าเป็นต้นกำเนิดของกองทัพเรือแห่งราชนาวีไทยในปัจจุบัน ในสมัยนี้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงโปรดการทหารเรืออย่างมากเป็นผู้อำนวยการต่อเรือกลไฟ เรือกลไฟลำแรกของไทยที่ต่อขึ้นในรัชกาลนี้คือ เรือสยามอรสุมพล นอกจากนี้ยังต่อเรือปืนขึ้นอีกหลายลำ อาทิ เรือราญรุกไพรี เรือศรีอยุธยาเดช เป็นต้น และตอนปลายรัชกาลได้ต่อเรือรบขนาดใหญ่ขึ้นคือ เรือสยามูประสดัมภ์ แล้วโปรดให้ตั้ง กรมเรือกลไฟขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2411

รัชกาลที่ 5

รัชกาลที่ 5

ประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 5
( พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ) ( 01/10/2411-23/10/2453 )


รัชกาลที่ 5 มีพระนามเดิมว่า “เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ” เป็นพระราชโอรสของรัชกาลที่ 4 
กับ สมเด็จพระเทพ ศิรินทราบรมราชินี (พระองค์เจ้ารำเพยภมาภิรมย์) ประสูติเมื่อ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษาได้รับการสถาปนาเป็น กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ 

เมื่อพระชนมายุได้ 15 พรรษา เลื่อนขึ้นเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ พระองค์ได้รับการศึกษาวิชาการต่าง ๆ ตามโบราณราชประเพณี ด้านอักษรศาสตร์ ทรงศึกษาภาษาอังกฤษกับนางลิโอโนเวนส์ ชาวอังกฤษ ต่อมาศึกษากับ หมอจันดเล ชาวอเมริกันครั้นเสวยราชแล้ว ยังศึกษากับนายแปตเตอร์สัน อีก 

พระองค์ เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเมื่อ 1 ตุลาคม 2411 ขณะทรงมีพระชนมายุย่าง 16 พรรษา นับเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ วรุตมพงษบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรม มหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร)

เสด็จ สวรรคตเมื่อ 23 ตุลาคม 2453 รวมพระชนมายุได้ 58 พรรษา อยู่ในราชสมบัตินาน 42 ปี ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 77 พระองค์




 พระราชลัญจกร เป็นรูปพระจุลมงกุฎเปล่งรัศมี บนพานแว่นฟ้า
เป็นสัญลักษณ์ของ พระบรมนามาภิไธย    "จุฬาลงกรณ์"
มีฉัตรตั้งขนาบข้าง ริมขอบสองข้าง มีแว่นสุริยกานต์ข้างหนึ่ง กับสมุด
ตำราข้างหนึ่งวางอยู่บนพานแว่นฟ้า



ด้านการปกครอง
ในระยะแรก พระองค์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ มีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยงวศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และได้สถาปนาโอรสองค์ใหญ่ ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า เจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล นามว่า กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ 

เมื่อพระองค์บรรลุนิติภาวะแล้ว ได้ผนวชอยู่ในสมณเพศ 15 วัน จึงลาสิกขาบทออกมาประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่ 2 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2416 จากนั้นทรงรับผิดชอบบริหารประเทศ โดยสิทธิ์ขาด มีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินดังนี้

ตั้งสภาแผ่นดิน 2 สภาได้แก่
1. รัฐมนตรีสภา Council of State 
ประกอบ ด้วยขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ ชั้นเจ้าพระยาทั้งหมด 12 คน มีพระองค์ท่านเป็นประธาน รัฐมนตรีสภามีหน้าที่ถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดิน รวมทั้งพิจารณาพระราชบัญญัติ พระราชกำหนดกฎหมายต่าง ๆ ด้วย เหมือนสภานิติบัญญัติในปัจจุบัน
 
2. องคมนตรีสภา Privy Council 
ประกอบ ด้วยสมาชิก 49 คน มีเชื้อพระวงศ 13 พระองค์ ทำหน้าที่เป็นสภา ที่ปรึกษา ราชการในพระองค์และมีหน้าที่ปฏิบัติราชการแผ่นดินตามแต่จะมีพระราชดำรัส

ปฏิรูปองค์การบริหารในส่วนกลางใหม่ดังนี้
เดิมมีอยู่ 6 กรม ได้แก่ กรมมหาดไทย กรมกลาโหม กรมเมือง กรมวัง กรมท่า และกรมนา
ตั้งขึ้นใหม่ 6 กรม ได้แก่ กรมพระคลัง กรมยุติธรรม กรมธรรมการ กรมโยธาธิการ กรมยุทธนาธิการ และ กรมมุรธาธร รวมเป็น 12 กรม ต่อมายกฐานะขึ้นเป็นกระทรวง ภายหลังได้ยุบกระทรวงยุทธนาธิการเข้ากับ กระทรวงกลาโหม และ กระทรวงมุรธาธรรวมเข้ากับกระทรวงวัง คงเหลือ 10 กระทรวงดังนี้
1. กระทรวงมหาดไทย
2. กระทรวงกลาโหม
3. กระทรวงนครบาล
4. กระทรวงการต่างประเทศ
5. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
6. กระทรวงวัง
7. กระทรวงเกษตราธิการ
8. กระทรวงยุติธรรม
9. กระทรวงโยธาธิการ
10. กระทรวงธรรมการ

กระทรวงต่าง ๆ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1. กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือรวมทั้งหัวเมืองประเทศราศทางเหนือ
2. กระทรวงกลาโหม มีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ กรมทหารเรือ กรมช้าง กรมแสง
3. กระทรวงการต่างประเทศ มีอำนาจหน้าที่จัดการเรื่องเกี่ยวกับการต่างประเทศ
4. กระทรวงนครบาล มีอำนาจหน้าที่จัดการในเรื่องความปลอดภัยในพระนคร ดูแลรักษาบัญชีพลดูแลเกี่ยวกับคุก
5.กระทรวงวัง มีอำนาจหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องในราชสำนักและพระราาชพิธีต่าง ๆ
6. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาการเก็บภาษีอากรและการเงิน ที่เป็นรายรับรายจ่ายของแผ่นดิน
7. กระทรวงเกษตรและพาณิชยการ มีอำนาจหน้าที่จัดการเรื่องเพาะปลูก การป่าไม้ การค้า รวมทั้ง
เรื่องโฉนดที่ดินซึ่งเริ่มมีในสมัยรัชกาลที่ 5
8. กระทรวงยุติธรรม มีอำนาจหน้าที่จัดการเรื่องศาลทั้งปวง
9. กระทรวงยุทธนาธิการ มีอำนาจหน้าที่จัดการเกี่ยวกับทหารบกและทหารเรือแบบยุโรป
10. กระทรวงธรรมการ มีอำนาจหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องศาสนา การศึกษา การพยาบาล และพิพิธภัญฑ์
11. กระทรวงโยธาธิการ มีอำนาจหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องการก่อสร้างต่าง ๆ ตลอดจนการไปรษณีย์
โทรเลขและรถไฟซึ่งเริ่มมีในสมัยรัชกาลที่ 5
12. กระทรวงมุรธาธร มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาพระราชลัญจกรและหนังสือราชการทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์


การบริหารราชการส่วนภูมิภาค
โปรดฯให้จัดระเบียบบริหารราชการหัวเมืองใหม่ ให้ยกเลิกเมืองพระยามหานคร ชั้นเอก โท ตรี จัตวา และหัวเมืองประเทศราช โดยจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาล ให้อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทยเพียงกระทรวงเดียว ปรากฎว่าในปี พ.ศ. 2449 ได้จัดแบ่งพระราชอาณาจักรออกเป็น 18 มณฑลดังนี้

1.มณฑลลาวเฉียงหรือมณพลพายัพ มีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง
2. มณฑลลาวพวนหรือมณฑลอุดร มีศูนย์กลางอยู่ที่หนองคาย
3. มณฑลลาวกาวหรือมณฑลอีสาน มีศูนย์กลางอยู่ที่จำปาศักดิ์
4. มณฑลเขมร หรือมณฑลบูรพา มีศูนย์กลางอยู่ที่พระตะบอง
5. มณฑลลาวกลางหรือมณฑลราชสีมา มีศูนย์กลางอยู่ที่นครราชสีมา
6. มณฑลภูเก็ต มีศูนย์กลางอยู่ที่ภูเก็ต
7. มณฑลพิษณุโลก มีศูนย์กลางอยู่ที่พิษณุโลก
8. มณฑลปราจีนบุรี มีศูนย์กลางอยู่ที่ปราจีนบุรี
9. มณฑลราชบุรี มีศูนย์กลางอยู่ที่ราชบุรี
10. มณฑลนครชัยศรี มีศูนย์กลางอยู่ที่นครปฐม
11. มณฑลนครสวรรค์ มีศูนย์กลางอยู่ที่นครสวรรค์
12. มณฑลกรุงเก่า มีศูนย์กลางอยู่ที่อยุธยา
13. มณฑลนครศรีธรรมราช มีศูนย์กลางอยู่ที่นครศรีธรรมราช
14. มณฑลไทรบุรี มีศูนย์กลางอยู่ที่ไทรบุรี
15. มณฑลจันทบุรี มีศูนย์กลางอยู่ที่จันทบุรี
16. มณฑลปัตตานี มีศูนย์กลางอยู่ที่ปัตตานี
17. มณฑลชุมพร มีศูนย์กลางอยู่ที่ชุมพร
18. มณฑลกรุงเทพฯ มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเทพมหานคร
   
มณฑลกรุงเทพฯ ประกอบด้วย 6 เมืองได้แก่ พระนคร ธนบุรี ปทุมธานี นนทบุรี นครเขื่อนขันธ์ และสมุทรปราการ
 
ในปี พ.ศ. 2440 ทรงตราพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ขึ้น สำหรับจัดการปกครองในเขตอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน ตามแผนภูมิดังนี้

 องค์กร  ผู้บังคับบัญชา
กระทรวงมหาดไทย
มณฑลเทศาภิบาล
เมือง    
แขวง (อำเภอ)  
ตำบล   
หมู่บ้าน
เสนาบดี
ข้าหลางเทศาภิบาลหรือสมุหเทศาภิบาล
ผู้ว่าราชการเมือง
หมื่น (นายอำเภอ)
พัน (กำนัน)
ทนาย (ผู้ใหญ่บ้าน)

การปรับปรุงกฎหมายและการศาล
โปรดฯ ให้รวบรวมศาลที่สังกัดกระทรวงและไม่สังกัดทั้งหมด มาขึ้นกับกระทรวงยุติธรรมนับว่าเป็นการแยกอำนาจ ตุลาการ ออกจาก ฝ่ายบริหารได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย สิ่งที่ปรับปรุงแก้ไขทางด้านการศาลมีดังนี้ 

1. ศาลในกรุง
โปรดฯ ให้ตั้ง ศาลโปริสภา สำหรับทำหน้าที่เปรียบเทียบคดีความวิวาทของราษฎรที่เกิดขึ้นในท้องที่ และเป็นคดีที่มีโทษขนาดเบา ต่อมา ศาลโปริสภา ได้เปลี่ยนเป็น ศาลแขวง เมื่อ 1 ตุลาคม 2478
 
2. ศาลหัวเมือง
โปรดฯ ให้จัดตั้งกองข้าหลวงพิเศษ ขึ้นคณะหนึ่งมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์) เป็นประธาน จัดการแก้ไขธรรมเนียมศาลยุติธรรมทั่วพระราชอาณาจักร ให้เป็นแบบเดียวกันทั้งหมด กองข้าหลวงพิเศษชุดนี้ มีหน้าที่สำคัญ 2 ประการคือ
2.1 จัดตั้งศาลยุตธรรมสำหรับพิจารณาคดีขึ้นตามหัวเมืองทั้งปวงเสียใหม่
2.2 ชำระสะสางคดีความที่ค้างอยู่ในศาลตามหัวเมืองต่าง ๆ ให้หมดสิ้นไป
 
3. จัดแบ่งชั้นของศาล
เพื่อให้ระเบียบการศาลยุติธรรมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อบเป็นหลักฐานมั่งคง ยิ่งขึ้น ก็โปรดฯให้ตราพระธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ขึ้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2451 โดยแบ่งศาลออกเป็น 3 แผนก คือ
3.1 ศาลฎีกา
3.2 ศาลสถิตย์ยุติธรรมกรุงเทพฯ
3.3 ศาลหัวเมือง
 
สิ่งที่ปรับปรุงแก้ไขทางด้านกฎหมายมีดังนี้
 
1. ได้จ้างชาวต่างประเทศที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย เข้ามารับราชการเป็นที่ปรึกษา เช่น
ดร. โรลัง ยัคมินส์ ชาวเบลเยี่ยม ต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็น เจ้าพระยาอภัยราชาสยามมานุกูลกิจ
นายโตกีจิ มาซาโอะ ชาวญี่ปุ่น ต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็น พระยามหิธรรมนูปกรณ์โกศลคุณ
นายวิลเลียม อัลเฟรด ติลเลเก ชาวศรีลังกา ต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็น พระยาอรรถการประสิทธิ์
 
2. ได้โปรดฯให้ตั้ง กองร่างกฎหมาย สำหรับทำหน้าที่ตรวจสอบชำระบรรดาพระราชกำหนดกฎหมาย
ต่าง ๆ เพื่อให้ได้ ตัวบทกฎหมายที่ทันสมัยตามแบบอารยประเทศ โดยมีกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์เป็นประธาน
 
3. ตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมายขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2440 โดยมีกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวง ยุติธรรมเป็นผู้อำนวยการ ด้วยเหตุนี้ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ จึงได้รับการว่าเป็น พระบิดาแห่งกฎหมายและการศาลไทย
 
4. ยกเลิกการลงโทษแบบจารีตนครบาล จากผลการปฏิรูปการศาลและการชำระกฎหมายให้ทันสมัย ทำให้ การพิจารณาคดีแบบจารีตและวิธีลงโทษแบบป่าเถื่อนทารุณต่าง ๆ ได้ถูกยกเลิกไปโดยสิ้นเชิง
การทหาร
เริ่มการฝึกทหารตามแบบยุโรปเพื่อใช้ป้องกันราชอาณาจักร ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นการฝึกทหารเกณฑ์ แบบยุโรปเพื่อใช้เป็นทหารรักษาพระองค์เท่านั้น 

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้โปรดฯ ให้ปรับปรุงกองทัพดังนี้
1. ปรับปรุงหน่วยทหารในกองทัพใหม่ จัดแบ่งออกเป็น กรม กอง เหล่า หมวด หมู่ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย พร้อมจัดอัตราเงินเดือนให้สอดคล้องกันและปรับปรุงอาวุธยุทธภัณฑ์ วิธีการฝึกตลอดจนเครื่องแบบให้ทันสมัย
กำเนิดสถาบันกองทัพ
 
2. ตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบก ตั้งกรมเสนาธิการทหารบก ตั้งโรงเรียนแผนที่ ตั้งโรงเรียนนายเรือ
 
3. ส่งนักเรียนไปศึกษาวิชาการทหารในทวีปยุโรป อาทิ
จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครชัยศรีสุรเดช จบจากอังกฤษ เป็นเสนาธิการ ทหารบกคนแรกของไทย
พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จบจากอังกฤษ เป็นนักเรียน นายเรือพระองค์แรก
ของไทยและเป็นพระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย
 
4. ตราพระราชบัญญัติการเกณฑ์ทหาร ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ 29 สิงหาคม 2448
 
5. สร้างเรือรบ อาทิ เรือพระที่นั่งจักรี เรือพาลีรั้งทวีป เรือสุครีพครองเมือง
 
6. สร้างป้อมพระจุลจอมเกล้า ป้อมปู่เจ้าสมิงพราย เพื่อป้องกันข้าศึกทางทะเลการตำรวจ
ขยายกิจการตำรวจนครบาล ให้มีจำนวนมากขึ้น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยภายในพระนคร
ตั้งกรมตำรวจภูธรขึ้น เพื่อปราบปรามโจรผู้ร้ายและดูแลทุกข์สุข ของราษฎรในส่วนภูมิภาค
ตั้งกรมตำรวจภูบาลขึ้น เพื่อช่วยเหลือตำรวจภูธร
ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร ขึ้น ณ จังหวัดนครราชสีมา ต่อมาย้ายมาตั้งอยู่ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จังหวัดนครปฐม

เศรษฐกิจ


1. การปรับปรุงระบบการคลัง แยกการคลังออกจากกรมท่า ให้กรมท่ามีหน้าที่ทางด้านการต่างประเทศ
เพียงอย่างเดียว ทรงตั้ง หอรัษฎากรพิพัฒน์ ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2416 ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์เพื่อเป็น
สำนักงานกลางเก็บผลประโยชน์ รายได้ภาษีอากรของแผ่นดินมารวมไว้ที่แห่งเดียว ต่อมาได้ยกฐานะ
หอรัษฎากรพิพัฒน์ ขึ้นเป็น กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อ พ.ศ. 2435
 
2. ตรากฎหมายกวดขันภาษีอากร โปรด ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสำหรับ หอรัษฎากรพิพัฒน์ ขึ้นเมื่อ 4 มิถุนายน
2416 โดยวางหลักเกณฑ์การเรียกเก็บภาษีอากรให้ทันสมัยตามแบบสากล
 
3. การปรับปรุงระบบภาษีอากรแบบใหม่ พ.ศ. 2435 ทรงตั้งข้าหลวงคลังไปประจำทุกมณฑล เพื่อทำหน้าที่เก็บภาษีอากรจากราษฎรโดยตรง แล้วรวบรวมส่งไปยังกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
 
4. ยกเลิกระบบเจ้าภาษีนายอากร เปลี่ยนให้เทศาภิบาลเก็บภาษีเองเหมือนกันหมดทุกมณฑล
 
5. จัดทำงบประมาณแผ่นดิน ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2439 โดยแยกพระราชทรัพย์ของพระองค์ออกจากรายได้ของแผ่นดิน ตั้ง พระคลังข้างที่ ขึ้นสำหรับจัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สำหรับรายได้ภาษีอากรของแผ่นดิน ให้พระคลังมหาสมบัติเป็นผู้ควบคุมดูแล
 
6. จัดระบบเงินตราใหม่ โดยยกเลิกระบบเงินพดด้วง หน่วยเงิน เฟื้อง ซีก เสี้ยว อัฐ โสลฬ ตำลึง ชั่ง โดยสร้างหน่วยเงินขึ้นใหม่ ให้ใช้ เหรียญบาท เหรียญสลึง เหรียญสตางค์ กำหนดให้ 100 สตางค์ เท่ากับ 1 บาท พร้อมทั้งผลิตเหรียญสตางค์ทำด้วยทองคำขาวมี 4 ราคา ได้แก่ 20 สตางค์ 10 สตางค์ 5 สตางค์และ 2 สตางค์ครึ่ง
 
7. ตราพระราชบัญญัติธนบัตร ร.ศ. 121 จัดพิมพ์ธนบัตรรุ่นแรก มีราคา 5 บาท 10 บาท 20 บาท 100 บาทและ 1000 บาท ต่อมาเพิ่มชนิด 1 บาท
 
8. เปลี่ยนมาตราฐานเงินมาเป็นมาตราฐานทองคำ ร.ศ. 127 เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2451 เพื่อรักษาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราไทยให้สอดคล้องกับหลักสากลทั่วไป
 
9. กำเนิดธนาคารแห่งแรก เดิมเรียกว่า บุคคลัภย์ Book Clup แล้วขอพระราชทานพระบราราชานุญาตจดทะเบียนเป็นบริษัทให้ถูกต้องตามกฎหมาย มีชื่อว่า บริษัท แบงค์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด เมื่อ พ.ศ. 2482




มีการผลิตเงินพดด้วงเพียง ๒ ครั้งเพื่อใช้เป็นที่ระลึก ไม่ได้ทำออกใช้ทั่วไป มีตราประทับอยู่ดังนี้ ตราพระเกี้ยว ไม่ทราบแน่ชัดว่า ทำขึ้นกี่ขนาด ที่พบ มีขนาดหนึ่งบาท ตราพระเกี้ยวพานรอง และช่อรำเพย ทำขึ้นมีขนาด แปดสิบบาท สี่สิบบาท ยี่สิบบาท สิบบาท สี่บาท และสองบาท

การสาธารณูปโภค
 
กำเนิดการไฟฟ้า 
โดยมี จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) เป็นผู้ริเริ่มจำหนายไฟฟ้าและขยาย กิจการมาเป็น การไฟฟ้านครหลวงในปัจจุบัน
 
กำเนิดการประปา 
ใน เดือนกรกฎาคม 2452 ได้โปรดให้เริ่มดำเนินการสร้างประปาขึ้น โดยเก็บกักน้ำ ที่คลองเชียงราก จังหวัดปทุมธานี แล้วขุดคลองประปาสำหรับส่งน้ำเข้ามาจนถึงคลองสามเสน พร้อมทั้งฝังท่อเอกและอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อให้ราษฎรมีน้ำสะอาดใช้
 
กำเนิดโรงพยาบาลแห่งแรก 
ตั้ง อยู่ บริเวณริมคลองบางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี เดิมเรียก โรงพยาบาลวังหลัง ดำเนิน กิจการเมื่อ 26 เมษายน 2431 ต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น โรงศิริราชพยาบาล แต่คนทั่วไปชอบเรียกกันว่า โรงพยาบาลศิริราช 

กำเนิดโรงเรียนแพทย์
ใน โรงพยาบาลศิริราช เมื่อ 2432 เรียกว่า โรงเรียนแพทยากร ต่อมาเรียก ราชแพทยาลัย ภายหลังคือ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ของมหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน
ตั้งสภาอุณาโลมแดง เนื่องจากกรณี พิพาทเรื่องพรมแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 มีทหารไทยบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก จึงจัดตั้ง สภาอุณาโลแดงแห่งชาติสยาม ขึ้น เพื่อจัดหาทุนซื้อยาและเครื่องเวชภัณฑ์ ส่งไปบรรเทาทุกข์ทหารที่บาทเจ็บในสงครามครั้งนี้ ต่อมาได้ขยายกิจการช่วยเหลือกว้างขวางออกไปถึงประชาชนทั่วไปและภายหลังได้ เปลี่ยนชื่อเป็น สภากาชาดสยาม และเปลี่ยนเป็น สภากาชาดไทย ในปัจจุบัน
 
ตั้งกรมสุขาภิบาล ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2440 เพื่อดูแลรักษาความสะอาด กำจัดกลิ่นเหม็น ควบคุมโรคติดต่อต่าง ๆ ให้ราษฎรมีสุขภาพอาณามัยที่ดี แล้วขยายไปยังส่วนภูมิภาค โดยทดลองจัดการสุขาภิบาลหัวเมืองขึ้นเป็นครั้งแรก ที่ ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาครเมื่อ พ.ศ. 2448 ครั้นกิจการสุขาภิบาลได้ผลดี เป็นที่น่าพอใจ ในปี พ.ศ. 2451 ได้จัดการสุขาภิบาลหัวเมืองขึ้นทั่วไปมีอยู่ 2 ประเภทคือ สุขาภิบาลเมือง และ สุขาภิบาลตำบล ต่อมาได้กลายเป็นเทศบาล
 
จัดตั้ง โอสถศาลารัฐบาล 
เพื่อ เป็นสถานประกอบการและผลิตยาสามัญประจำบ้าน ส่งไปจำหน่ายแก่ราษฎร ชาวบ้านเรียกว่า ยาโอสถสภา ต่อมาเปลี่ยนมาเรียกว่า ยาตำราหลวง

การคมนาคมขนส่งและการสื่อสาร

กำเนิดการรถไฟ
สร้างทางรถไฟหลวงสายแรก กรุงเทพฯ – อยุธยา เมื่อ 26 มีนาคม 2439และขยายกิจการไป ทั่วทุกภูมิภาค
เริ่มกิจการรถรางในกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2430
เริ่มกิจการไปรษณีย์ โปรดฯ ให้ตั้งกรมไปรษณีย์ เมื่อ 4 สิงหาคม 2426
เริ่มกิจการโทรเลข โทรเลขสายแรกคือกรุงเทพฯ – สมุทรปราการ เมื่อ พ.ศ. 2412
ต่อมาได้รวมกิจการไปรษณีย์โทรเลขเข้าด้วยกัน เรียกว่า กรมไปรษณีย์โทรเลข
เริ่มกิจการโทรศัพท์ เมื่อปี พ.ศ. 2424



ด้านศาสนา



การสร้าง บูรณะ และปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม
วัดที่สร้างในรัชกาลนี้ ได้แก่ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดเทพศิรินทราวาส วัดราชาธิวาส (รื้อและสร้างใหม่ทั้งหมด) นอกจากนี้ยังสร้างตามหัวเมือง เช่น วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ ที่บางประอิน จังหวัดอยุธยา วัดอัษฎางคนิมิตร และวัดจุฑาทิศธรรมสภาราม ที่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี
 
การชำระและพิมพ์พระไตรปิฎก ในรัชกาลนี้ทรงสร้างพระไตรปิฎก “ฉบับทองทึบ” ด้วยคัมภีร์ใบลาน เหมือนอย่างกษัตริย์ในอดีตและยังโปรดฯ ให้สร้าง พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์
ตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองสงฆ์

กำเนิดสถาบันการศึกษาสำหรับสงฆ์ คือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ วัดมหาธาตุฯ และ มหามกุฏราชวิทยาลัย ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

ได้พระบรมสารีริกธาตุจากอินเดีย เมื่อ พ.ศ. 2442 นำมาไว้ที่พระเจดีย์ทองสัมฤทธิ์ ในคูหาพระสถูป บนยอดพระบรมบรรพต วัดสระเกศฯ

ได้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ จากเมืองพุทธคยา ประเทศอินเดีย นำมาปลูกไว้ ณ วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ ต้นหนึ่ง และที่วัดอัษฎางคนิมิตร เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรีต้นหนึ่ง
นอกจากนี้ยังบำรุงศาสนาอื่น ๆ อาทิ ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ สร้างมัสยิด ให้ศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ อนุญาต ให้บาทหลวงมีสิทธิ์หาซื้อที่ดินสร้างโบสถ์ ของคริสตศานานิกายโรมัยคาทอลิก และพระราชทานเงิน 1,000 เหรียญดอลลาร์ ให้คณะมิชชันนารีสร้างโรงเรียน ของศาสนาคริสตนิกายโปรเตสแตนท์









ด้านศิลปและวัฒนธรรม

การเปลี่ยนแปลงประเพณี

การสืบราชสันตติวงศ์ เดิมการสืบราชบัลลังก์จะใช้ตำแหน่ง พระมหาอุปราช หรือ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) สืบราชสันตติวงศ์จากพี่ไปหาน้อง ทรงเปลี่ยนมาเป็นจากพ่อไปหาลูก โดยยกเลิกตำแหน่ง พระมหาอุปราช หรือ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) เสีย แล้วตั้งตำแหน่ง มกุฎราชกุมาร ขึ้นแทน ผู้ได้รับการสถาปนาให้เป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์แรกคือ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ (สิ้นพระชนม์ เมื่อพระชันษาได้เพียง 17 ปี) ต่อมาจึงโปรดให้สถาปนาเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 6)

เลิกประเพณีหมอบคลานเข้าเฝ้า เปลี่ยนมาเป็นให้ยืนหรือนั่งเก้าอี้แทนและใช้ถวายคำนับตามแบบฝรั่งแสดงความเคารพ

เปลี่ยนทรงผม โดยแต่เดิมชายไทยไว้ทรงหลักแจว (มหาดไทย) มาเป็นทรงสากล ผู้หญิงเดิมไว้ผมปีก (ผมทัด) เปลี่ยนมาไว้ผมยาว

เปลี่ยนประเพณีการแต่งกาย
เริ่มมีการสวมถุงเท้ารองเท้า ใส่เสื้อนอกมีผ้าผูกคอ หรือแต่งเครื่องแบบเวลาเข้าเฝ้า ออกแบบชุดข้าราชการที่เรียกว่า เสื้อราชแปตแตน Raj Pattern ต่อมาเรียกว่า ราชปะแตนท์ อันแปลว่าแบบหลวง นุ่งผ้าสีม่วงโจงกระเบนตามแบบไทยเดิม
 
เปลี่ยนแปลงการใช้ศักราช โดยเลิกใช้จุลศักราชมาเป็นรัตนโกสินทรศักราช โดยเริ่มนับ พ.ศ. 2325 เป็น ร.ศ. 1
 
เริ่มใช้วันทางสุริยคติในทางราชการ โดยใช้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ส่วนวันทางพุทธศักราชยังคงใช้วัน ตามจันทรคติแบบเดิมคือให้ใช้ วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่
 
เลิกประเพณีโกนผมไว้ทุกข์ แต่เดิมเมื่อพระมหากษัตริย์สวรรคต ราษฎรต้องโกนผมไว้ทุกข์และนุ่งขาวหมด พระองค์โปรดฯให้ยกเลิกเสีย คงแต่ให้แต่งกายไว้ทุกข์ตามขนบประเพณี

การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา
กำเนิดโรงเรียนหลวง ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง บริเวณพระตำหนักสวนกุหลาบ มีพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจาริยางกูร) เป็นอาจารย์ใหญ่ จึงเรียกชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ต่อมากิจการขยายใหญ่ขึ้นกลายมาเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ปัจจุบันคือจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
โปรดฯ ให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจาริยางกูร) เรียบเรียงแบบเรียนหลวง 6 เล่ม ได้แก่ มูลบทบรรพกิจ วาหนิติ์นิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ และพิศาลการันต์
 

กำเนิดโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรแห่งแรก ณ วัดมหรรณพาราม ตำบลเสาชิงช้า กรุงเทพฯ
ตั้งกระทรวงธรรมการ หรือกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน
 

ปรับปรุงหลักสูตร โดยประกาศเลิกใช้แบบเรียนหลวง 6 เล่มของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจาริยางกูร) มาใช้แบบเรียนเร็วของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ แทน และประกาศใช้โครงการศึกษาสำหรับชาติ ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2441
 

ตั้งโรงเรียนบำรุงสตรีวิชา นับว่าเป็นโรงเรียนสตรีของรัฐบาลโรงเรียนแรก
กำเนิดโรงเรียนฝึกหัดครู หรือโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ โดยมีสถานที่เรียน ณ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา และต่อมาได้กำเนิด สามัคยาจารย์สมาคม ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2445
กำเนิดการสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวง หรือที่เรียกว่า คิงสกอลาชิป



ลักษณะสังคมของไทย
สังคมของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการแบ่งชนชั้นออกเป็น 4 ประเภทคือ
(1) เจ้านาย    (2) ขุนนาง หรือ ข้าราชการ  (3) ไพร่ หรือ สามัญชน  (4)  ทาส
 
1. เจ้านาย 
คือ ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพระมหากษัตริย์ แต่มิได้หมายความว่าผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพระมหากษัตริย์ทุกคนจะเป็นเจ้า นายหมด ลูกหลานของพระมหากษัตริย์จะถูกลดสกุลยศตามลำดับ และ ภายใน 5 ชั่วคน ลูกหลานของเจ้านายก็จะกลายเป็นสามัญชน 

ราชสกุลยศจะมีเพียง 5 ชั้นคือ เจ้าฟ้า เป็นชั้นสูงสุด เจ้าฟ้าคือ พระโอรส ธิดาของพระมหากษัตริย์อันประสูติจากอัครมเหษี
 
พระองค์เจ้า คือ พระโอรส ธิดาของพระมหากษัตริย์อันประสูติแด่พระสนม หรือเป็นพระโอรส ธิดาของเจ้าฟ้า
หม่อมเจ้า คือ พระโอรส ธิดา ของพระองค์เจ้า
หม่อมราชวงศ์ คือ บุตรธิดาของหม่อมเจ้า
หม่อมหลวง คือ บุตรธิดาของหม่อมราชวงศ์
 
พอถึงชั้นหม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวง ก็ถือว่าเป็นสามัญชนแล้วมิได้มีสิทธิพิเศษเช่นเจ้านายชั้นสูงแต่อย่างใด

เพื่อเฉลิมพระเกียรติและตอบแทนเจ้านายที่ได้ทำความดีความชอบในราชการ พระมหากษัตริย์ จะทรงแต่งตั้งเจ้านายนั้น ๆ ให้ทรงกรม ซึ่งมีลำดับขั้นเหมือนกับยศของขุนนางดังนี้
ชั้นสูงสุดคือ กรมพระยา กรมพระ กรมหลวง กรมขุน กรมหมื่น ตามลำดับ
เจ้านายชั้นเจ้าฟ้า ถ้าได้ทรงกรมจะเริ่มตั้งแต่ กรมขุน ขึ้นไป ตั้งแต่พระองค์เจ้าลงมาเมื่อได้ทรงกรม จะต้องเริ่มตั้งแต่ กรมหมื่น
 
สิทธิ พิเศษของเจ้านายคือ เมื่อเกิดมีคดี ศาลอื่น ๆ จะตัดสินไม่ได้นอกจากศาลกรมวัง และจะขายเจ้านายลงเป็นทาสไม่ได้ เจ้านายจะไม่ถูกเกณฑ์แรงงานด้วยประการใด ๆ
 
2. ขุนนาง หรือ ข้าราชการ 
ยศของขุนนางเรียงลำดับจากขั้นสูงสุดลงไปดังนี้
สมเด็จเจ้าพระยา
เจ้าพระยา
พระยา
พระ
หลวง
ขุน
หมื่น
พัน
ทนาย
พระมหากษัตริย์จะพระราชทานยศและเลื่อนยศ ให้ตามความดีความชอบ นอกจากยศแล้วพระมหากษัตริย์ยังพระราชทานราชทินนามต่อท้ายยศให้ขุนนางด้วย ราชทินนามจะเป็นเครื่องบอกหน้าที่ที่ได้ เช่น เจ้าพระยามหาเสนา พระยาจ่าแสนยากร มักจะเป็นขุนนางฝ่ายทหาร เจ้าพระยาจักรี พระยาธรรมา พระยาพลเทพ พระยาพระคลัง เป็นขุนนางฝ่ายพลเรือน สิทธิพิเศษของขุนนางคือไม่โดยเกณฑ์แรงงาน

และ สิทธินี้ครอบคลุมไปถึงผู้เป็น ลูกด้วย ขุนนางที่มีศักดินาตั้งแต่ 400 ไร่ขึ้นไป มีสิทธิแต่งตั้งทนายว่าความให้ในศาล ได้เข้าเฝ้า และมีสิทธิ์มีไพร่อยู่ในสังกัดได้
 
3. ไพร่ หรือสามัญชน
หมายถึง ผู้ชายที่มีอายุ 18 – 60 ปี ชายฉกรรจ์ที่เป็นสามัญชนจะต้องสักเลก เพื่อสังกัดเจ้านายหรือขุนนางคนใดคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า มูลนาย หากผู้ใดขัดขืน มิยอมสังกัดมูลนาย หรือไปรายงานตัวเป็นไพร่ จะมีโทษและจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย เช่นไม่มีสิทธิ์ในการถือครองที่ดินทำกิน จะฟ้องร้องใครไม่ได้ ไพร่มี 3 ประเภทดังนี้

3.1 ไพร่สม คือ ชายที่มีอายุ 18 – 20 ปี สังกัดมูลนายที่เป็นเจ้านายและขุนนางเพื่อให้ฝึกหัดใช้งาน
 
3.2 ไพร่หลวง คือ ชายที่มีอายุ 20 – 60 ปี มีหน้าที่รับราชการแผ่นดิน ตามการเกณฑแรงงานตามสมัยแต่ถ้ามีลูกเข้าเกณฑ์แรงงานแทนตนถึง 3 คน ก็จะไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานให้ปลดออกจากราชการได้ก่อนอายุ 60 ปี
 
3.3 ไพร่ส่วย คือ ชายที่มีอายุ 20 – 60 ปี ที่ไม่ประสงค์เข้ารับราชการ โดนเกณฑ์แรงงาน รัฐบาลอนุญาตให้นำเงินหรือสิ่งของมาชำระแทนแรงงานได้ เรียกเงินหรือสิ่งของที่ใช้แทนแรงงานว่า ส่วย หรือเงินค่าราชการ

4. ทาส 

มีอยู่ 7 ประเภทดังนี้
4.1 ทาสสินไถ่ คือ ทาสที่ขายตัวเองหรือถูกผู้อื่นขายให้แก่นายเงินต้องทำงานจนกว่าจะหาเงินมา ไถ่ค่าตัวได้ จึงจะหลุดพ้นเป็นไท
 
4.2 ทาสในเรือนเบี้ย คือ ลูกของทาสที่เกิดมาในเวลาที่พ่อ แม่กำลังเป็นทาสอยู่
 
4.3 ทาสได้มาแต่บิดามารดา คือ ลูกทาสที่ได้จากพ่อหรือแม่ของเด็กที่เป็นทาส
 
4.4 ทาสท่านให้ คือ ทาสที่เดิมเป็นของผู้หนึ่งแล้วถูกยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของอีกผู้หนึ่ง
 
4.5 ทาสที่ช่วยมาจากทัณฑโทษ คือ ผู้ที่ถูกต้องโทษต้องเสียค่าปรับแต่ไม่มีเงินให้ แล้วมีนายเงินเอาเงิน  มาใช้แทนให้ ผู้ต้องโทษก็ต้องเป็นทาสของนายเงิน
 
4.6 ทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย คือ ในเวลามีภัยธรรมชาติทำให้ข้าวยากหมากแพง ไพร่บางคน อดอยากไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ต้องอาศัยมูลนายกิน ในที่สุดก็ต้องยอมเป็นทาสของมูลนายนั้น
 
4.7 ทาสเชลยคือ ทาสที่ได้มาจากการรบทัพจับศึกหรือการทำสงคราม เมื่อได้ชัยชนะจะต้อน ผู้แพ้สงครามมาเป็นทาส

รัชกาลที่ 6

รัชกาลที่ 7

รัชกาลที่ 8

รัชกาลที่ 9

ประวัติ รัชกาลที่ 9 (ร.9)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพล อดุลยเดช ( 09/06/2489 – ปัจจุบัน )

รัชกาลที่ 9 มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 3 
นสมเด็จ พระมหิตลาธิเบศร์อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ( กรมหลวงสงขลานครินทร์ ) และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ( สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ) 
ประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม 2470 ณ เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาจูสตต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2471 ได้ตามเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถกลับมาประทับในประเทศไทย
พ.ศ. 2472 สมเด็จพระบรมชนกนาถสิ้นพระชนม์
พ.ศ. 2475 ได้เข้าศึกษา ณ โรงเรียนมาแตร์เดอี ถนนเพลินจิต กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2476 ได้เดินทางไปศึกษาระดับประถมศึกษา ณ โรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโรซานน์ณ ประเทศ
                สวิตเซอร์แลนด์
พ.ศ. 2477 ได้ตามเสด็จพระเชษฐาธิราช กลัมมาเมืองไทย เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันท
                มหิดล เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิ
                พลอดุลยเดช เมื่อเดือนกรกฎาคม 2478ต่อมาทรงย้ายโรงเรียนมาศึกษาต่อ ณ โรงเรียนนู
                แวลล์ เดอ ลาซูอิสส์ โรมองค์ เมืองโรซานน์
พ.ศ. 2481 ได้เสด็จกลับเมืองไทยพร้อมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ประทับอยู่ในราช
               อาณาจักรประมาณ 2 เดือน จึงเสด็จไปศึกษาต่อ และเสด็จกลับมาเมืองไทย เมื่อ 5
               ธันวาคม 2488
10 พฤษภาคม 2489 
ได้รับการแต่งตั้ง เป็นนายทหารพิเศษ ยศร้อยโท ประจำกรมทหารราบที่ 1 กองพันที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
8 มิถุนายน 2489 เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี ขณะมีพระชนมายุ 19 พรรษา ทรงมีพระปรมาภิไธยย่อว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร
28 เมษายน 2493 ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส กับ ม.ร.ว. หญิง สิริกิติ์ สิริยากร
5 พฤษภาคม 2493 ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดาดังนี้
1. สมด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี
2. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์
3. สมด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธร
4. สมด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วไลลักษณ์



พระราชลัญจกร เป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ
ประกอบด้วยวงจักร มีอักษร อุ หรือเลข ๙ อยู่กลางวงจักร รอบวงจักรมีรัสมีเปล่งออกโดยรอบ มีรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้น อยู่เหนือจักรฉัตรตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ
หมายถึง ทรงมีพระบรมเดชา นุภาพในแผ่นดิน


ด้านการปกครอง
นายปรีดี พนมยงค์
ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 3 เมื่อ 11 มิถุนายน 2489 ลาออกเมื่อ 21 สิงหาคม 2489 เนื่องจากสุขภาพเสื่อมโทรม
23 สิงหาคม 2489 พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี มีการเปลี่ยนชื่อพฤฒิสภาเป็นวุฒิสภา กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง พ้นจากตำแหน่งเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 เพราะทหารทำการรัฐประหาร การรัฐประหารในครั้งนี้คณะทหารให้เหตุผลว่าทำเพื่อพระมหากษัตริย์ที่ถูกลอบ ปลงพระชนม์และเพื่อประชาชนชาวไทย
10 พฤศจิกายน 2490 นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 3 เป็นเวลา 3 เดือน ลาออกเมื่อ 8 เมษายน 2491 เนื่องจากถูกรัฐประหาร
8 เมษายน 2491 จอมพล ผิน ชุณหะวัณ เชิญ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี นาน 10 ปี
เกิดกบฏวังหลวง เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2492 เกิดกบฏแมนฮัดตัน เมื่อ มิถุนายน 2494
16 กันยายน 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการรัฐประหาร ยุบสภา
21 กันยายน 2500 นายพจน์ สารสิน เป็นนายกรัฐมนตรี ลาอกเมื่อ 26 ธันวาคม 2500 เพราะมีการเลือกตั้งทั่วไปภายหลังรัฐประหาร
1 มกราคม 2501 พลโท ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ลาออกเมื่อ 20 ตุลาคม 2501 เพื่อเปิดโอกาสให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการปฏิวัติ
9 กุมภาพันธ์ 2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และถึงแก่อนิจกรรม ขณะดำรงตำแหน่ง เมื่อ 8 ธันวาคม 2506
9 ธันวาคม 2506 พลเอกถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ลาออกหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 8 และสมาชิกชุดใหม่เข้ารับหน้าที่แล้ว ต่อมากลับเข้าดำรงตำแหน่งครั้งที่ 3 เมื่อ 7 มีนาคม 2512 และทำการปฏิวัติตัวเองเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2514 กลับเข้าดำรงตำแหน่งครั้งที่ 4 เมื่อ 18 ธันวาคม 2515 พ้นจากตำแหน่งเมื่อ 14 ตุลาคม 2516 เนื่องจากเหตุการณ์จราจล
14 ตุลาคม 2516 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่ง เมื่อ 26 มกราคม 2518 เพราะมีการเลือกตั้งทั่วไป พรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนเสียงมากที่สุด ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช จึงจัดตั้งรัฐบาล แต่ไม่ได้รับความไว้วางใจเมื่อแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้รวบรวมสมาชิกพรรคอื่น จัดตั้งรัฐบาลผสม ซึ่งมีสมาชิกของพรรคกิจสังคมในสภาเพียง 18 เสียง 14 มีนาคม 2518 ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี มีการประท้วงและเรียกร้อง
ของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ มากมาย เกิดการขัดแย้งกันในคณะรัฐบาล นายกรัฐมนตรีจึงประกาศ ยุบสภาให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเดือนเมษายน 2519
21 มีนาคม 2519 ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี

6 ตุลาคม 2519 คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ทำการปฏิวัติ มีพลเรือเอกสงัด ชลออยู่เป็นหัวหน้า

22 ตุลาคม 2519 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลดำเนินนโยบายเข้มงวด ควบคุมความคิดเสรีนิยม มีการนำรูปแบบเผด็จการมาใช้อีก กลุ่มปัญญาชนหนีเข้าป่ามากขึ้น ทำให้สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้น

มีนาคม 2520 กบฎ 26 มีนาคม โดยพลเอกฉลาด หิรัญศิริ
20 ตุลาคม 2520 พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ รัฐประหารอีกครั้งและประกาศให้พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ เมื่อ 22 เมษายน 2522 ในเดือนพฤษภาคม 2522 พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 2 ต่อมาลาออกเพราะประสบปัญหาน้ำมัน ในตลาดโลกมีราคาแพงส่งผลกระทบให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น ค่าครองชีพสูง รัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาได้ จึงลาออก ในเดือน มีนาคม 2523
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองและฝ่ายทหารให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นาน 8 ปี เศรษฐกิจไทยเจริญก้าวหน้ามีการลงทุนทำธุรกิจในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ทำให้เงินตราจากต่างประเทศหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศมากขึ้น

1 เมษายน 2524 “กบฎ 1 เมษา” โดยพลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา

9 กันยายน 2528 “กบฎ 9 กันยา”
ต่อมามีการจัดให้มีการเลือกตั้ง ในปี 2531 พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

23 กุมภาพันธ์ 2534 สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ รสช. ทำการปฏิวัติ โดยมีพลเอกสุนทร คงสมพงษ์เป็นหัวหน้าและมอบหมายให้นายอานันท์ ปัญญาชุน เป็นนายกรัฐมนตรีบริหารประเทศชั่วคราวและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่

22 มีนาคม 2535 มีการเลือกตั้งทั่วไป พรรคที่ได้เสียงข้างมากสนับสนุนให้ พลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี สร้างความไม่พอใจให้แก่นิสิต นักศึกษา ประชาชนทั่วไป เพราะพลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นบุคคลที่รวมอยู่ในคณะรัฐประหารของ สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ จึงมีการเดินประท้วงคัดค้านอันนำไปสู่เหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ระหว่างวันที่ 17-19 พฤษภาคม 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพล อดุลยเดช ได้ขอร้องให้ทุกฝ่ายยุติความขัดแย้งกัน หลังจากนั้น พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ลาออก ประธานรัฐสภาได้เสนอชื่อนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่

13 กันยายน 2535 พรรคประชาธิปัตย์ได้เสียงข้างมาก นายชวนหลีกภัยได้เป็นนายกรัฐมนตรี บริหารประเทศได้ 2 ปี ก็เกิดกรณีการจัดสรรที่ดินทำกินแก่ราษฎร และการถอนตัวของพรรคร่วมรัฐบาล ทำให้รัฐบาลประกาศยุบสภา

กรกฎาคม พ.ศ. 2538 มีการเลือกตั้งใหม่ นายบรรหาร ศิลปอาชาได้เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดการขัด
แย้งในพรรคร่วมรัฐบาล นายกประกาศยุบสภา

พฤศจิกายน 2539 มีการเลือกตั้งใหม่ พรรคความหวังใหม่ได้รับชัยชนะ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนัก จึงประกาศลาออก

พฤศจิกายน 2540 นายชวน หลีกภัย หัวหน้าฝ่ายค้านขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนหมดวาระ

มกราคม 2544 มีการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พรรคไทยรักไทยได้คะแนนเสียงมากที่สุด
พต.ท ทักษิณ ชินวัตร ได้เป็นนายกรัฐมนตรีการ ปฏิวัติรัฐประหารที่เกิด ขึ้นสดร้อนๆ บรรยากาศแห่งความอึมครึมเกิดขึ้นตลอดทั้งวันอังคารที่ 19 กันยายน 2549 และนับเป็นการปฏิวัติที่แปลกที่สุดในโลกเมื่อประชาชนพากันโทรศัพท์แจ้งข่าว กันตลอดทั้งวันว่า ทหารจะปฏิวัติ แต่สถานการณ์ก็ยังสับสนว่า ฝ่ายไหนจะเป็นผู้กระทำ จนกระทั่ง

เวลา 22.15 น. กลายเป็นฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ออกอากาศทางช่อง 9 อสมท. ประกาศภาวะฉุกเฉิน รัฐประหารตัวเอง มีคำสั่งปลด พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกออกจากตำแหน่ง พร้อมกับมีคำสั่งให้มารายงานตัวต่อ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษาการนายกรัฐมนตรี โดยได้แต่งตั้ง พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้รับผิดชอบในสถานการณ์ฉุกเฉิน

เวลา 22.30 น. ทหารจำนวนหนึ่งได้บุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล พร้อมด้วยรถถังประมาณ 10 คัน และรถฮัมวี่ 6 คัน กระจายกำลังเข้าควบคุมตามจุดต่างๆและให้ตำรวจสันติบาลและสื่อมวลชนออกจาก ทำเนียบรัฐบาล โดยทหารทั้งหมดมีสัญญลักษณ์ปลอกแขนสีเหลือง

เวลา 23.00 น.คณะนายทหารภายใต้การนำของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารทุกเหล่าทัพ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ พล.ต.ประพาส ศกุนตนา อ่านคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ฉบับที่ 1 ว่า ได้เข้าควบคุมสถานการณ์ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครไว้ได้หมดแล้ว และไม่ได้มีการขัดขวางจากฝ่ายทหารที่สนับสนุน พ.ต.อ.ทักษิณ ชินวัตร จึงขอประชาชนให้ความร่วมมือ และนับเป็นประกาศคณะปฏิวัติที่สุภาพที่สุดด้วย เมื่อมีท้ายแถลงการณ์ด้วยว่า "ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้ด้วย"

จากนั้นคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ได้ประกาศกฎอัยการศึกและยกเลิกคำสั่งประกาศภาวะฉุกเฉินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พร้อมเข้าเฝ้ากราบบังคมทูลรายงานสถานการณ์ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

ทั้งนี้มีรายงานว่า หลังจากที่ประชาชนทราบเหตุการณ์ว่า ทหารได้ทำรัฐประหารซ้อนยึดอำนาจจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เรียบร้อยแล้ว ประชาชนจำนวนมากได้ออกจากบ้านมาแสดงความยินดี เช่นเดียวกับประชาชนที่ใช้รถสัญจรผ่านไปมาตามเส้นทางที่มีรถถังตั้งอยู่ได้ ลงจากรถมาโบกมือ ไชโยโห่ร้องให้กับทหาร พร้อมทั้งขอถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาตินั้นจะนิยมการถ่ายรูปคู่กับทหารเป็นอย่าง มาก ส่วนสถานการณ์ใกล้กับบ้านจันทร์ส่องหล้าของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

ในช่วงนั้น ทั้งบริเวณปากซอยจรัญสนิทวงศ์ 69 และ 71 และรวมไปทั้งซอยจรัสลาภ ถนนสิรินธร มีทหารจาก ร.1 พัน 1 รอ.ประมาณ 30 นาย สวมชุดพรางอาวุธครบมือ พร้อมรถยีเอ็มซีจอดอยู่ ได้ตั้งจุดตรวจโดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจร่วมตรวจด้วยอีกซอยละ 2 นาย พร้อมกันไม่ให้ผู้สื่อข่าวเข้าไปด้านใน

จากนั้นคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ได้ออกมาแถลงการณ์ออกมาเป็นระยะๆ ถึงความจำเป็นในการเข้ายึดอำนาจเนื่องจากรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร ได้สร้างความแตกแยกขึ้นในบ้านเมือง มีการทุจริตประพฤติมิชอบอย่างกว้างขวาง หน่วยงาน องค์กรอิสระ ถูกครอบงำทางการเมือง ไม่สามารถสนองตอบเจตนารมณ์ตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเกิดปัญหาและอุปสรรคหลายประการ ตลอดจนหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแห่งองค์พระมหากษัตริย์ผู้ทรง เป็นที่เคารพเทิดทูนของปวงชนชาวไทยอยู่บ่อยครั้ง

นอกจากนั้นคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็น ประมุขได้ประกาศจะให้มีการปฏิรูปการเมืองเกิดขึ้นโดยเร็ว พร้อมเรียกร้องให้นิสิต นักศึกษา ปัญญาชน ซึ่งเป็นพลังบริสุทธิ์ ร่วมเสนอแนวทางการพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมายังสำนักงานเลขานุการกองทัพบก

แล้วมีการจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
บริหารประเทศแล้วจัดให้มีการเลือกตั้ง
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550  ปรากฏว่า
พรรคพลังประชาชน ที่มี
นายสมัคร สุนทรเวช เป็นหัวหน้า แม้จะได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ก็มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 233 คน

พรรคประชาธิปัตย์ ที่มี
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้า ซึ่งมีจำนวน ส.ส.รวมทั้งระบบสัดส่วนและระบบเขตทั้งสิ้น 165 คน ประกาศอยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับพรรคพลังประชาชน
พรรคชาติไทย ที่มีนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นหัวหน้า มี ส.ส. 37 คน
พรรคเพื่อแผ่นดิน ที่มีนายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นหัวหน้า มีจำนวน ส.ส. 24 คน
พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ที่มี พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร เป็นหัวหน้า มี ส.ส. 9 คน
พรรคมัชฌิมาธิปไตย ที่มีนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เป็นหัวหน้า มี ส.ส. 7 คน
พรรคประชาราช ที่มีนายเสนาะ เทียนทอง เป็นหัวหน้า ได้ ส.ส. 5 คน
พรรคพลังประชาชน ประกาศจัดตั้งรัฐบาลผสม ประกอบด้วย พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมใจ พรรคมัชฌิมาธิปไตยและพรรคประชาราช โดยมี
นายสมัคร  สุนทรเวช  เป็น
นายกรัฐมนตรี
ภาย หลังศาลรัฐธรรมนูญพิพากษานายสมัคร  สุนทรเวช  ว่ากระทำขัดต่อกฏหมายรัฐ
ธรรมนูญคดีจัดรายการชิมไปบ่นไป  เป็นเหตุให้ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นายสมชาย  วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ ถูกต่อต้านจากกลุ่มพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย ขณะเดียวกัน ศาลพิพากษายุบพรรคพลังประชาชน  พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตยแล้ว นายสมชาย  วงศ์สวัสดิ์ พ้นจากการเป็นนายกรัฐมนตรี มีการย้ายพรรคของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ขณะเดียวกันสมาชิกของพรรคเพื่อไทยจากพรรคพลังประชาชนเดิม สนับสนุนให้พรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาล นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี




นายกรัฐมนตรี
1

นายก้อน หุตะสิงห์
2

นายพจน์ พหลโยธิน
3

จอมพลแปลก พิบูลสงคราม
4

นายควง อภัยวงศ์
5

นายทวี บุณยเกตุ
6

มรว. เสนีย์ ปราโมช
7

นายปรีดี พนมยงค์
8

พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
9

นายพจน์ สารสิน
10

จอมพล ถนอม กิตติขจร
11

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
12

นายสัญญา ธรรมศักดิ์
13

มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
14

นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
15

พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
16

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
17

พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
18

นายอานันท์ ปันยารชุน
19

พลเอกสุจิณดา คราประยูร
20

นายชวน หลีกภัย
21

นายบรรหาร ศิลปอาชา
22

พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
23

พ.ต.ท. ทักษิณ ชิณวัตร
24

พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
25

นาย สมัคร สุนทรเวช
26

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
27

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ



นาย ปรีดี พนมยงค์ ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 3 เมื่อ 11 มิถุนายน 2489 ลาออกเมื่อ 21 สิงหาคม 2489 เนื่องจากสุขภาพเสื่อมโทรม
23 สิงหาคม 2489 พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี มีการเปลี่ยนชื่อพฤฒิสภาเป็นวุฒิสภา กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง พ้นจากตำแหน่งเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 เพราะทหารทำการรัฐประหาร การรัฐประหารในครั้งนี้คณะทหารให้เหตุผลว่า ทำเพื่อพระมหากษัตริย์ที่ถูกลอบปลงพระชนม์และเพื่อประชาชนชาวไทย
10 พฤศจิกายน 2490 นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 3 เป็นเวลา 3 เดือน ลาออกเมื่อ 8 เมษายน 2491 เนื่องจากถูกรัฐประหาร
8 เมษายน 2491 จอมพล ผิน ชุณหะวัณ เชิญ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี นาน 10 ปี
เกิดกบฏวังหลวง เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2492 เกิดกบฏแมนฮัดตัน เมื่อ มิถุนายน 2494
16 กันยายน 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการรัฐประหาร ยุบสภา
21 กันยายน 2500 นายพจน์ สารสิน เป็นนายกรัฐมนตรี ลาอกเมื่อ 26 ธันวาคม 2500 เพราะมีการเลือกตั้งทั่วไปภายหลังรัฐประหาร
1 มกราคม 2501 พลโท ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ลาออกเมื่อ 20 ตุลาคม 2501 เพื่อเปิดโอกาสให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการปฏิวัติ
9 กุมภาพันธ์ 2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และถึงแก่อนิจกรรม ขณะดำรงตำแหน่ง เมื่อ 8 ธันวาคม 2506
9 ธันวาคม 2506 พลเอกถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ลาออกหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 8 และสมาชิกชุดใหม่เข้ารับหน้าที่แล้ว ต่อมากลับเข้าดำรงตำแหน่งครั้งที่ 3 เมื่อ 7 มีนาคม 2512 และทำการปฏิวัติตัวเองเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2514 กลับเข้าดำรงตำแหน่งครั้งที่ 4 เมื่อ 18 ธันวาคม 2515 พ้นจากตำแหน่งเมื่อ 14 ตุลาคม 2516 เนื่องจากเหตุการณ์จราจล
14 ตุลาคม 2516 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่ง เมื่อ 26 มกราคม 2518 เพราะมีการเลือกตั้งทั่วไป
พรรค ประชาธิปัตย์ได้คะแนนเสียงมากที่สุด ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช จึงจัดตั้งรัฐบาล แต่ไม่ได้รับความไว้วางใจเมื่อแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้รวบรวมสมาชิกพรรคอื่น จัดตั้งรัฐบาลผสม ซึ่งมีสมาชิกของพรรคกิจสังคมในสภาเพียง 18 เสียง 14 มีนาคม 2518 ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี มีการประท้วงและเรียกร้อง
ของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ มากมาย เกิดการขัดแย้งกันในคณะรัฐบาล นายกรัฐมนตรีจึงประกาศ ยุบสภาให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเดือนเมษายน 2519
21 มีนาคม 2519 ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี
6 ตุลาคม 2519 คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ทำการปฏิวัติ มีพลเรือเอกสงัด ชลออยู่เป็นหัวหน้า
22 ตุลาคม 2519 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลดำเนินนโยบายเข้มงวด ควบคุมความคิดเสรีนิยม มีการนำรูปแบบเผด็จการมาใช้อีก กลุ่มปัญญาชนหนีเข้าป่ามากขึ้น ทำให้สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้น
มีนาคม 2520 กบฎ 26 มีนาคม โดยพลเอกฉลาด หิรัญศิริ
20 ตุลาคม 2520 พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ รัฐประหารอีกครั้งและประกาศให้พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ เมื่อ 22 เมษายน 2522 ในเดือนพฤษภาคม 2522 พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 2 ต่อมาลาออกเพราะประสบปัญหาน้ำมัน ในตลาดโลกมีราคาแพงส่งผลกระทบให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น ค่าครองชีพสูง รัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาได้ จึงลาออก เดือน มีนาคม 2523
เดือน มีนาคม 2523 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมือง และฝ่ายทหาร
ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นาน 8 ปี เศรษฐกิจไทยเจริญก้าวหน้ามีการลงทุนทำธุรกิจ ในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ทำให้เงินตราจากต่างประเทศหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศมากขึ้น
1 เมษายน 2524 “กบฎ 1 เมษา” โดยพลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา
9 กันยายน 2528 “กบฎ 9 กันยา”
การเลือกตั้ง ในปี 2531 พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
23 กุมภาพันธ์ 2534 สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ รสช. ทำการปฏิวัติ โดยมีพลเอกสุนทร คงสมพงษ์เป็นหัวหน้าและมอบหมายให้นายอานันท์ ปัญญาชุน เป็นนายกรัฐมนตรีบริหารประเทศชั่วคราวและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่
22 มีนาคม 2535 มีการเลือกตั้งทั่วไป พรรคที่ได้เสียงข้างมากสนับสนุนให้ พลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี สร้างความไม่พอใจให้แก่นิสิต นักศึกษา ประชาชนทั่วไป เพราะพลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นบุคคลที่รวมอยู่ในคณะรัฐประหารของ สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ จึงมีการเดินประท้วงคัดค้านอันนำไปสู่เหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ระหว่างวันที่ 17-19 พฤษภาคม 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพล อดุลยเดช ได้ขอร้องให้ทุกฝ่ายยุติความขัดแย้งกัน หลังจากนั้น พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ลาออก
ประธานรัฐสภาได้เสนอชื่อนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่
13 กันยายน 2535 พรรคประชาธิปัตย์ได้เสียงข้างมาก นายชวนหลีกภัยได้เป็นนายกรัฐมนตรี บริหารประเทศได้ 2 ปี ก็เกิดกรณีการจัดสรรที่ดินทำกินแก่ราษฎร และการถอนตัวของพรรคร่วมรัฐบาล ทำให้รัฐบาลประกาศยุบสภา
กรกฎาคม พ.ศ. 2538 มีการเลือกตั้งใหม่ นายบรรหาร ศิลปอาชาได้เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดการขัด
แย้งในพรรคร่วมรัฐบาล นายกประกาศยุบสภา
พฤศจิกายน 2539 มีการเลือกตั้งใหม่ พรรคความหวังใหม่ได้รับชัยชนะ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนัก จึงประกาศลาออก
พฤศจิกายน 2540 นายชวน หลีกภัย หัวหน้าฝ่ายค้านขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนหมดวาระ
มกราคม 2544 มีการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พรรคไทยรักไทยได้คะแนนเสียงมากที่สุด
พต.ท ทักษิณ ชินวัตร ได้เป็นนายกรัฐมนตรี
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ทำการปฏิวัติ เมื่อ19 กันยายน 2549 แล้วมีการจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่
เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550  ปรากฏว่า พรรคพลังประชาชน ได้เสียงข้างมาก นายสมัคร สุนทรเวช ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ภาย หลังศาลรัฐธรรมนูญพิพากษานายสมัคร  สุนทรเวช  ว่ากระทำขัดต่อกฏหมายรัฐธรรมนูญคดีจัดรายการชิมไปบ่นไป  เป็นเหตุให้ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นายสมชาย  วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ ถูกต่อต้านจากกลุ่มพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย ขณะเดียวกัน ศาลพิพากษายุบพรรคพลังประชาชน  พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตยแล้ว นายสมชาย  วงศ์สวัสดิ์ พ้นจากการเป็นนายกรัฐมนตรี มีการย้ายพรรคของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ขณะเดียวกันสมาชิกของพรรคเพื่อไทย จากพรรคพลังประชาชนเดิม สนับสนุนให้พรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาล นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี
นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี