วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2553

รัชกาลที่ 1

รัชกาลที่ 1

ประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 1
( พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ) ( พ.ศ. 2325 - 2352 )


พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง เกิดเมื่อ แรม 5 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง จุลศักราช 1098 ตรงกับวันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นบุตรคนที่ 4 ของหลวงพินิจอักษร ( ทองดี ) กับ นางดาวเรือง ( หยก ) มีพี่น้องดังนี้
คนที่ 1 เป็นหญิงชื่อ สา ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น พระเจ้าพี่นางเธอ กรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี
คนที่ 2 เป็นชายชื่อ ขุนรามณรงค์ ถึงแก่กรรมก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2
คนที่ 3 เป็นหญิงชื่อ แก้ว ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอ กรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์
คนที่ 4 เป็นชายชื่อ ทองด้วง ( รัชกาลที่ 1 )
คนที่ 5 เป็นชายชื่อ บุญมา ( กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท )
เมื่อเจริญวัยได้เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในสมัยสมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิจ ( ขุนหลวงดอกมะเดื่อ )
พ.ศ. 2300 อายุ 21 ปีได้บวช ณ วัดมหาทลาย เมื่อลาสิกขาบทแล้วกลับเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กหลวง
พ.ศ. 2303 อายุ 24 ปี ได้สมรสกับนางสาวนาก ธิดาของคหบดีตำบลอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม
พ.ศ. 2304 อายุ 25 ปีในสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาสอมรินทร์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นหลวงยกบัตรเมืองราชบุรี
พ.ศ. 2311 ในสมัยพระเจ้าตากสิน ได้รับราชการมีฐานันดรศักดิ์เป็น พระราชวรินทร์ ( กรมพระตำรวจหลวง )
เมื่อเสร็จศึกในการปราบชุมนุมพิมาย ได้เลื่อนขึ้นเป็น พระยาอภัยรณฤทธิ์
พ.ศ. 2313 เมื่อครั้งปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง มีความชอบได้เป็นพระยายมราช และทำหน้าที่สมุหนายกอีกด้วย
พ.ศ. 2314 ได้เลื่อนขึ้นเป็น เจ้าพระยาจักรี คุมทัพไปรบกับพม่าเสร็จศึกพม่าแล้ว ได้ยกทัพไปตีเขมรมาเป็นเมืองขึ้น พ.ศ. 2319 เป็นแม่ทัพไปตีเขมรป่าดง ( สุรินทร์ ขุขันธ์ สังขะ ) แคว้นลาวทางใต้ ได้เมืองจำปาศักดิ์ สีทันดร อัตตะปือ เสร็จศึกได้เลื่อนขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พิลึกมหมา ทุกนัคราระอาเดช นเรศรราช สุริยวงศ์ องค์อัครบาทมุลิกากร บวรรัตนปรินายก
พ.ศ. 2324 ยกทัพไปปราบจลาจลในเขมรแต่ไม่สำเร็จเพราะเกิดกบฏในกรุงธนบุรีต้องยกทัพกลับ
พ.ศ. 2325 อาณาประชาราษฏร์ กราบทูลเชิญขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อ 6 เมษายน 2325 อยู่ในราชสมบัติ 27 ปี เสด็จสวรรคต 7 กันยายน 2352 รวมพระชนมายุ 73 พรรษา ครองราชย์ นาน 28 ปี มีโอรสธิดารวม 42 พระองค์


รัชกาลที่ 1
การตั้งพระบรมวงศานุวงศ์
เมื่อเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ ปราบดาภิเษกขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ( รัชกาลที่ 1 ) ก็ทรงประกาศสถาปนา พระราชวงศ์ ตามโบราณราชประเพณีปราบดาภิเษก ประดิษฐานพระราชวงศ์ใหม่
ชื่อพระราชนามเต็ม
สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร ธรณินทราธิราชรัตนากาศภาศกรวงษ องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรนาถนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไศรย สมุทัยคโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร หริหรินทราชาดาธิบดี ศรีสุวิบุลยคุณอัขณิฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราช เดโชไชยพรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร ภูมินทรปรมาธิเบศรไลกเชฐวิสุทธรัตนมงกุฏ ประเทศคตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว คือ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
"นามมหาราช" ได้เมื่อครั้งเฉลิมฉลองกรุงเทพมหานครครบ 200 ปี ในสมัยรัชกาลปัจจุบัน

เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเคยมีฐานันดรศักดิ์ เป็นเจ้าพระยาจักรีมานานจึงตกลงเรียก พระราชวงศ์ใหม่ว่า “พระบรมราชวงศ์จักรี”


พระราชลัญจกร ประจำรัชกาลที่ 1

เป็นรูปปทุมอุณาโลม มีอักขระ "อุ" อยู่กลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวอันเป็น พฤกษชาติที่เป็นสิริมงคลในพุทธศาสนา ตราอุณาโลมมีรูปร่างคล้ายสังข์เวียนขวา อยู่ในกรอบลายกนก เริ่มใช้คราวพระราช พิธีบรมราชาภิเษก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘





นายบุญมา
การตั้งพระบรมวงศานุวงศ์
ทรงสถาปนาพระราชวงศ์และข้าราชการที่ทำความดีความชอบขึ้นดำรงตำแหน่งที่สำคัญดังนี้
1. โปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราช ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช หรือ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ( วังหน้า )นามว่า “ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
2. สถาปนาพระโอรสองค์ใหญ่ (
ฉิม ) เป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ต่อมาภายหลังได้เป็นกรมพระราชวังบวรมหาอิศรสุนทร ในตำแหน่งวังหน้า หลังจาก กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทิวงคตแล้ว
3. สถาปนาพระโอรสองค์รอง (
จุ้ย ) เป็นเจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์
4. สถาปนาพระยาสุริยอภัย (
ทองอิน ) พระเจ้าหลานเธอ เป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ หลังจากเสร็จศึกสงครามเก้าทัพแล้ว พ.ศ. 2328 ได้ขึ้นเป็น กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข ( วังหลัง ) ซึ่งตำแหน่งวังหลังนี้ มีครั้งเดียวในสมัยรัตนโกสินทร์
5. สถาปนาเจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ โอรสของพระเจ้าตากสินอันเกิดจากพระราชธิดาองค์ใหญ่ของรัชกาลที่ 1 ซึ่งมีพระนามเดิมว่า ( ฉิมใหญ่ ) ขึ้นเป็น เจ้าฟ้า
กรมขุนกระษัตรานุชิต
นอกจากนี้ยังได้โปรดให้สถาปนา สมเด็จพระพี่นางเธอ สมเด็จพระเจ้าน้องญาเธอ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ ขึ้นเป็นเจ้าต่างกรม ตั้งแต่กรมหมื่น จนถึงกรมพระอีก รวมหลายพระองค์ด้วยกัน
พระราชลัญจกร คือตราที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้ประทับ กำกับพระปรมาภิไธยและประทับกำกับเอกสารสำคัญ ที่ออกในพระปรมาภิไธย เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงพระราชอำนาจ และพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินหรือประจำรัชกาลนั้น ยังเป็นเครื่องมงคลอีกด้วย ดังที่ปรากฎอยู่ในหมวดพระราชสิริซึ่งประกอบด้วย พระสุพรรณบัตร ดวงพระราชสมภพและ พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน ซึ่งจะต้องเชิญขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พร้อมกับเครื่องมงคลอื่น ๆ
พระราชลัญจกรมี ๔ ประเภท คือ
1.
พระราชลัญจกรสำหรับแผ่นดิน ใช้ประทับกำกับเอกสารสำคัญที่ออกในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
เช่น พระราชลัญจกรมหาโองการ พระราชลัญจกรไอยราพต
2. พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน หรือ
ประจำรัชกาล ใช้ประทับกำกับพระบรมนามาภิไธยในเอกสารสำคัญ
3.
พระราชลัญจกรประจำพระองค์ ใช้ประทับกำกับพระบรมนามาภิไธย ในเอกสารสำคัญส่วนพระองค์
ที่ไม่เกี่ยวด้วยราชการแผ่นดิน
4.
พระราชลัญจกรประจำเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ ใช้ประทับประกาศนียบัตรเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ตามที่
กำหนดไว้ 



การสร้างราชธานี


 วัดประจำรัชกาลที่ 1 (วัดโพธิ์ )

 แผนผังบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์

พระบรมมหาราชวัง


 แต่เดิมแผ่นดินอันเป็นที่ตั้งของกรุงเทพมหานครใน ปัจจุบัน สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาระหว่าง ปากคลองบางกอกน้อยลงมาถึงปากคลองบางกอกใหญ่ เป็นแผ่นดินเดียวกัน มีชื่อเรียกกันในสมัยนั้นว่า “บางกอก” ตำบลบางกอกตั้งอยู่ ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม แม่น้ำเจ้าพระยาแต่เดิม ไหลตามคลองบางกอกน้อย คลองบางระมาด คลองตลิ่งชัน และคลองบางกอกใหญ่ ในสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช ( พ.ศ. 2079 – 2089 ) โปรดให้ ขุดคลองลัด เริ่มตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อยไปออกแม่น้ำเก่าหน้าวัดอรุณราชวราราม เรียกว่า คลองลัดบางกอกใหญ่ ต่อมากลายเป็น แม่น้ำตรงหน้า ท่าราชวรดิษฐ์ เมื่อน้ำไหลสะดวกขึ้น เลยกลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาใน ปัจจุบัน ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิมกลายเป็นคลองบางกอกน้อย คลองตลิ่งชั่น คลองบางระมาด คลองบางกอกใหญ่ในที่สุด ทำให้ตำบล บางมะกอก แบ่งออกเป็นสองส่วนคือฝั่งตะวันตกเรียก ฝั่งธนบุรี ฝั่งตะวันออกเรียก ฝั่งพระนคร ( บริเวณที่สร้างพระบรมมหาราชวังในปัจจุบัน ) เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติแล้ว ก็โปรดให้ ย้ายราชธานี จากฝั่งตะวันตก มาอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน ด้วยเหตุผลหลายประการดังนี้
1. ด้วยเหตุผลทางด้านยุทธศาสตร์ เพราะกรุงธนบุรีมีสภาพเป็นเมืองอกแตก มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหล ผ่ากลางเมืองยากแก่การป้องกันข้าศึกเข้าโจมตี
เหมือนเมื่อครั้งพระองค์เคยรักษาเมืองพิษณุโลก ในศึกอะแซหวุ่นกี้ถ้าย้ายพระนครมาอยู่ทางฝั่งตะวันออกเพียงฝั่งเดียว ถ้ามีข้าศึกมาโจมตี ีก็จะป้องกันได้ง่าย
2. สถานที่ตั้งกรุงธนบุรีคับแคบ เพราะมีวัดขนาบสองด้านคือ วัดอรุณราชวราราม ( วัดแจ้ง ) และ วัดโมฬีโลกยาราม ( วัดท้ายตลาด )
ไม่เหมาะที่จะขยายเมืองให้เจริญยิ่งขึ้นต่อไปได้
3. ฝั่งธนบุรีเป็นท้องคุ้ง น้ำเซาะตลิ่งทรุดพังอยู่เสมอ อาจเป็นอันตรายต่อพระราชฐานได้ เมื่อมีพระราชดำริดังนี้แล้ว ก็โปรดให้พระยาธรรมา ( บุญรอด )
และพระยาวิจิตรานาวี เป็นแม่กองคุมช่างและไพร่พล สร้างพระนครใหม่ โดยย้ายชาวจีน ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณที่จะสร้างพระนคร ไปอยู่บริเวณ คลองสามปลื้มจนถึงคลองวัดสามเพ็ง ( ตลาดสำเพ็งในปัจจุบัน ) โดยทำพิธียกเสาหลักเมือง ในวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2325 ตรงกับ วันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีขาล จุลศักราช 1144 โดยเกณฑ์ ชาวเขมร ลาว และข้าราชการหัวเมือง เข้ามา ช่วยระดมกัน ขุดลอกคูคลอง สร้างกำแพงเมือง ปราสาท ราชวัง ในการสร้างพระนครแห่งใหม่นี้ใช้เวลานาน 3 ปี เสร็จแล้ว โปรดให้มี พระราชพิธี สมโภชอย่างมโหฬาร รวม 3 วัน และขนานนามพระนครแห่งใหม่ว่า กรุงเทพ มหานครบวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพนพรัตน์ ราชธานี บุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน มหาสถานอมรพิมาน อวตารสถิต สักกทัตติย วิษณุกรรมประสิทธิ์ ( สมัยรัชกาลที่ 4 เปลี่ยน กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์ เป็นกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ ฯ ) ซึ่งแปลได้ความว่า “เมืองแห่งเทพยดาเป็นเมืองใหญ่เป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกตเป็นเมืองรบ ไม่ชนะของพระอินทร์ เป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ของโลก อันประกอบด้วยรัตน 9 ประการ เป็นเมืองแห่งความร่มเย็นเป็นสุข ประกอบด้วยพระราชวังอันยิ่งใหญ่ ซึ่งเปรียบเสมือนสวรรค์อันเป็นที่ประทับ ของพระนารายณ์ เมืองที่พระอินทร์เป็น ผู้มอบให้ โดยให้พระวิษณุกรรมเป็นผู้สร้าง”พระมหาปราสาท และราชมณเฑียร ในพระบรมมหาราชวัง
ที่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประกอบด้วย

1. พระที่นั่งอมรินทราภิเษก มหาปราสาท สร้างด้วยไม้ทั้งองค์ โดยลอกแบบมาจากพระที่นั่งสรรเพชญปราสาท
พระที่นั่งองค์นี้ใช้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในปี พ.ศ. 2328 ต่อมาเกิดฟ้าผ่า ไฟไหม้ ในปี 2332 จึงโปรด ให้รื้อ แล้วสร้างขึ้นใหม่ ให้เหมือน พระที่นั่งสุริยาศอมรินทร์ แล้วพระราชทานนามว่า พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท


2. พระมหามณเฑียร เป็นพระที่นั่งหมู่ประกอบด้วย
2.1 พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน
2.2 พระที่นั่งไพศาลทักษิณ
2.3 พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน
2.4 พระที่นั่งเทพสถานพิลาศ
2.5 พระที่นั่งเทพอาสน์พิไล
2.6 หอพระสุราลัยพิมาน
2.7 หอพระธาตุมณเฑียร


3. พระที่นั่งดุสิตาภิรมย์
4. พระที่นั่งเย็น
5. พระที่นั่งพลับพลาสูง ( สุทไธสวรรค์ )
6. พระที่นั่งทอง


การสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ( วัดพระแก้ว )
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงมีความคิดที่จะสร้างราชธานีแห่งใหม่ ให้มีความเจริญ รุ่งเรือง เหมือนกรุงศรีอยุธยา จึงสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามไว้ในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับ วัดพระศรีสรรเพชญที่กรุงศรีอยุธยา และสร้างปราสาทราชมณเฑียร สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัดดังนี้
1. พระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
2. หอพระมณเฑียรธรรม สร้างกลางสระเป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎกและเป็นที่แปลพระราชสาส์น
3. ศาลารายรอบพระอุโบสถ 12 หลัง
4. พระเจดีย์ทอง 2 องค์
5. หอระฆัง
ในปี พ.ศ. 2331 ภายหลังที่ชำระพระไตรปิฎกเสร็จแล้ว ได้นำพระไตรปิฏกมาไว้ที่ หอมณเฑียรธรรมและจัดให้มีมหรสพฉลอง มีการจุดดอกไม้ไฟ ทำให้เกิดเพลิงไหม้ จึงต้องสร้างที่เก็บพระไตรปิฎกขึ้นใหม่ พร้อมกับสร้างสิ่งอื่นเพิ่มเติมดังนี้ สร้างพระมณฑปไว้เก็บพระไตรปิฎก หอพระมณเฑียรธรรม สร้างหอพระเทพบิดร หอพระนาค และสร้างพระปรางค์แปดองค์


   

 
 
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.sainampeung.ac.th
เพื่อใช้สำหรับการศึกษา

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ27 มกราคม 2565 เวลา 18:56

    Best Bitcoin Casino 2021 ▷ Top Casino Sites
    The Best Bitcoin Casino Sites and Top 인카지노 Rated Games by Casino.uk 메리트 카지노 The UK Gambling Sites Accept Bitcoin - Best Bitcoin 1xbet korean Casino for UK Players.

    ตอบลบ