วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2553

รัชกาลที่ 4

รัชกาลที่ 4



ข้อมูลส่วนพระองค์
พระบรมนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติวงศ์ พงอิศวรกระษัตริย์ ขัติยราชกุมาร
วันพระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 วันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด
วันสวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 วันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง เวลาทุ่มเศษ
พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระราชมารดา สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
พระมเหสี สมเด็จพระนางเจ้า โสมนัสวัฒนาวดี
พระราชบุตร 82 พระองค์


พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็น รัชกาลที่ ๔ แห่งราชจักรีวงศ์ทรงมีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมติเทวาวงศ์พงษ์อิศรกษัตริย์" 

เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีชวด ตรงกับวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๔๗
ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ณ นิวาสสถานในพระราชนิเวศน์เดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวราราม

เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๔๓ และเป็นลำดับที่ ๒ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับสมเด็จพระศรีสุริเยนทร์


พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า “เจ้าฟ้ามงกุฎ” เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ณ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี เมื่อ 18 ตุลาคม พุทธศักราช 2347
เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกอบพระราชพิธีลงสรง เฉลิมพระอำนาจจารึกในพระสุบรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติเทววงศ์พงศ์อิศวร กษัตริย์ขัตติยราชกุมาร
  
เมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ทรงประกอบพระราชพิธีโสกัณฑ์ จากนั้นทรงผนวชเป็นสามเณรอยู่ 7 เดือน จึงลาผนวช
 
เจ้าฟ้ามงกุฎ ทรงศึกษาเล่าเรียนอักษรสยาม ตั้งแต่เมื่อครั้งประทับ ณ พระราชวังเดิมในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) วัดโมลีโลกยาราม          

เมื่อ พระชนมายุ 20 พรรษา ทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ระยะแรกทรงจำพรรษา ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส ) ต่อมาได้เสด็จมาประทับ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เพื่อทรงศึกษาพระปริยัติธรรม ทรงสอบได้ เปรียญ 5 ประโยค ทรงเชี่ยวชาญรอบรู้ในพระไตรปิฎก จากนั้นได้เสด็จไปประทับ ณ วัดสมอราย
            
ใน ขณะที่ทรงผนวชอยู่นั้น รัชกาลที่ 2 ได้เสด็จสวรรคต ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ได้ทูลเชิญ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร ขึ้นเป็นรัชกาลที่ 3 ทั้ง ๆ ที่พระองค์มีสิทธิ์ในราชบัลลังก์อย่างพร้อมบูรณ์ ตามโบราณราชพระเพณี พระองค์จึงตัดสินพระทัยผนวชเป็นภิกษุในผ้ากาสาวพัสตร์ต่อไป ขณะที่ทรงผนวชอยู่ได้ศึกษาภาษาอังกฤษจนสามารถพูดและเขียนได้เป็นอย่างดี นับว่าเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์แรกในทวีปเอเชียที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ นอกจากนี้ยีงทรงศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมืองและศาสนา ที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษได้ด้วยพระองค์เอง             ทรงปรับปรุงแก้ไขวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ให้เคร่งครัดขึ้น ทำให้เกิดพระสงฆ์คณะใหม่ขึ้น เรียกว่า ธรรมยุติกนิกาย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เชิญเสด็จมาประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
            
เมื่อ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้ามงกุฎ จึงได้ลาผนวช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ วิสุทธสมมติเทพยพงศ์วงษาดิศวรกระษัตริย์ วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันบรมมหาจักรพรรดิราชสังกายบรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตรพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เมื่อ 2 เมษายน 2394 ขณะที่มีพระชนมายุได้ 47 พรรษา ทรงมีพระนามย่อว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอยู่ในสมณเพศ 27 พรรษา ทรงดำรงสิริราชสมบัติเป็นระยะเวลา 17 ปี เสด็จสวรรคต 1 ตุลาคม 2411 รวมพระชนมายุ 65 พรรษา มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 82 พระองค์

พระราชลัญจกร
เป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ ในกรอบรูปกลมรี เป็นพระราชสัญลักษณ์์ ของพระบรมนามาภิไธยว่า "มงกุฎ" มีฉัตรตั้งขนาบพระมหาพิชัยมงกุฎทั้งสองข้างมีพานทองสองชั้นวางแว่นสุริยกาล หรือเพชรข้างหนึ่งวางสมุดตำราข้างหนึ่ง พระแว่นสุริยกาลหรือเพชร มาจาก ฉายา เมื่อทรงผนวช ว่า "วชิรญาณ" ส่วนสมุดตำรามาจากการที่ได้ทรง ศึกษาและมีความเชี่ยวชาญในด้าน อักษรศาสตร์และดาราศาสตร์


พระราชประวัติสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี             

สมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าหญิงรำเพย เป็นพระธิดา ในสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ พระราชโอราสในรัชกาลที่ 3 กับพระชนนีน้อย เมื่อยังทรงพระเยาว์ ได้เสด็จเข้าไปประทับในพระบรมมหาราชวัง ทรงศึกษาอักขรวิธีและราชประเพณี ทรงได้รับสถาปนาเป็นพระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ ต่อมาในพุทธศักราช 2395 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาตำแหน่งพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระนางเจ้ารำเพยภมราภิรมย์ ขณะมีพระชนมายุ 18 พรรษา มีพระราชโอรสและพระราชธิดา 4 พระองค์คือ
              
1. เจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ ต่อมาได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 5 แห่ง ราชวงศ์จักรี ทรงพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

2. เจ้าฟ้าหญิงจันทรมณฑล โสภณภควดี ต่อมาทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงจันทรมณฑล โสภณภควดี กรมหลวงวิสุทธิกษัตริย์ สิ้นพระชนเมื่อพระชนมายุ 10 พรรษา
              
3. เจ้าฟ้าชายจาตุรนต์รัศมี ต่อมาทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ เป็นต้นราชสกุล จักรพันธุ์
              
4. เจ้าฟ้าชายภาณุรังษีสว่างวงศ์ ต่อมาทรงได้รับสถาปนาเป็น จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมวงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศืวรเดช ทรงเป็นต้นราชสกุล ภาณุพันธุ์
               
สมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2404 ขณะพระชนมายุ 28 พรรษา

ด้านการปกครอง การจัดระเบียบการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 4 ยังคงใช้รูปแบบเดิมเหมือนสมัยรัชกาลที่ 3 กล่าวคือ
โปรดให้ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ขึ้นดำรงตำแหน่ง วังหน้า แต่ยกฐานะเทียบเท่าพระมหากษัตริย์ พระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศร์ มหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ( พระนามเดิมเจ้าฟ้าจุธามณี ) เป็นพระอนุชาร่วมพระชนนีเดียวกันกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
          

ในสมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มมีการปฏิรูปประเพณีที่เกี่ยวกับการปกครองบางประการ ได้แก่
 
1. การใช้กฎหมาย
ในสมัยรัชกาลที่ 4 อารยธรรมตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทในวงราชการอย่างมาก กฎหมายตราสามดวง ที่ไทยเคยใช้อยู่ไม่สามารถนำมาใช้บังคับได้ทั้งหมด เนื่องจากชาวต่างชาติมักใช้เป็นข้ออ้างอยู่เสมอว่า กฎหมายไทยป่าเถื่อนล้าสมัย กฎหมายบางข้อไม่ยุติธรรมหรือบางครั้งรุนแรงเกินกว่าเหตุ จึงได้มีการตรากฎหมายขึ้นใหม่เกือบ 500 ฉบับ นอกจากนี้ยังมีประกาศต่าง ๆ ที่มีผลบังคับใช้เหมือนกฎหมายอีกมากมาย อาทิ ประกาศให้ชาวกรุงรับจ้างฝรั่งได้ ประกาศห้ามนำคนในบังคับของชาวต่างชาติมาเป็นทาส ประกาศให้ราษฎรและขุนนางสามารถเป็นเจ้าของละครผู้หญิงได้ เป็นต้น นอกจากนี้ได้โปรดให้ตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวังนามว่า โรงอักษรพิมพการ เพื่อใช้พิมพ์เอกสารต่าง ๆ ของทางราชการ โดยพิมพ์ออกมาในรูปหนังสือพิมพ์แถลงข่าวของทางราชการ โดยพระราชทานนามว่า “ราชกิจจานุเบกษา”
 
 2. การพิพากษาคดีและการศาล
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศาล ส่วนใหญ่ยังคงใช้แบบเดิมยังไม่ได้รวมเป็นกระทรวงเดียวกัน การพิจารณาคดีความต่าง ๆ ได้โปรดให้ยกเลิกวิธีการพิจารณาพิพากษาตามจารีตนครบาลอันทารุณโหดร้ายเสีย มีการจัดตั้ง ศาลคดีต่างประเทศหรือศาลต่างประเทศ ขึ้น เพื่อใช้ว่าความในกรณีที่คนไทยเป็นจำเลย โดยมีเรื่องราวกับชาวต่างชาติ ที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ในเมืองไทย หรือเข้ามาติดต่อค้าขายกับคนไทย มีการจัดตั้งศาลกงสุลขึ้นเป็นครั้งแรก โดยจัดตั้งขึ้นอันเนื่องมาจากการทำสนธิสัญญากับชาติตะวันตก เมื่อเกิดกรณีพิพาทระหว่างคนไทยกับคนในบังคับของชาวต่างชาติหรือชาวต่างชาติ แล้ว ถ้าเป็นความอาญาและคนในบังคับของชาวต่างชาติหรือชาวต่างชาติเป็นผู้กระทำผิด กงสุลประเทศนั้น ๆ จะเป็นผู้พิจารณาพิพากษาโทษ ตามกฎหมายของเขาเอง ลักษณะอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยไม่มีเอกราชในทางศาลหรือที่เรียกกัน ว่า ไทยเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
 
3. กำเนิดตำรวจนครบาล
ได้มีการจัดตั้งตำรวจพระนครบาลหรือโปลิส Polis ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2404 โดยได้จ้างชาวยุโรปและชาวมลายูซึ่งเคยเป็นนายโปลิสมาก่อนมาเป็นครูฝึก การจัดตั้งตำรวจพระนครบาลในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันอันตรายอันจะ เกิดขึ้นแก่ชีวิตและทรัพย์สินของชาวยุโรป ตลอดจนรักษาความสงบเรียบร้อยภายในพระนคร โดยเริ่มปฏิบัติงานครั้งแรกบริเวณตลาดสำเพ็ง
 
4. การฝึกทหารแบบยุโรป
ได้จ้าง ร้อยเอกอิมเปย์ Captain Impey ซึ่งเป็นทหารนอกประจำการของกองทัพบกอังกฤษ ประจำประเทศอินเดีย เข้ามาเป็นครูฝึก จัดระเบียบทหารบกใหม่ตามแบบตะวันตก เมื่อ พ.ศ. 2394 การเรียกชื่อ ยศ ตำแหน่ง และการบอกแถวทหาร ใช้ภาษาอังกฤษทั้งสิ้น จึงเรียกการฝึกทหารหน่วยนี้ว่า
ทหารเกณฑ์หัดอย่างยุโรปหรือทหารเกณฑ์หัดอย่างฝรั่ง ในการฝึกทหารครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นทหารประจำพระองค์ ซึ่งมีถึง 2 กอง คือกองทหารรักษาพระองค์ปืนปลายหอกข้าหลวงเดิมและกองทหารหน้า ในปี พ.ศ. 2395 ได้จ้างทหารนอกราชการชาวอังกฤษอีกคนหนึ่งชื่อ
ร.อ.โทมัส ยอร์ช นอกซ์ เข้ามาฝึกทหารทำนองเดียวกันกับร้อยเอกอิมเปย์ ให้กับวังหน้าอีกด้วย
ต่อมาในตอนปลายรัชกาลได้จ้างชาวฝรั่งเศสชื่อ ลามาส เข้ามาฝึกทหารแบบยุโรปแต่ใช้ภาษาฝรั่งเศส การฝึกทหารที่กล่าวมานี้เป็นการฝึกเพื่อใช้เป็นทหารรักษาพระองค์เท่านั้น การป้องกันประเทศยังคงใช้วิธีเดิมทั้งสิ้น





5. ปรับปรุงการทหารเรือ
ได้โปรดให้เปลี่ยนแปลง
รือรบใหม่ จาก เรือกำปั่นรบใช้ใบมาเป็น เรือกำปั่นรบกลไฟ โดยมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ( ช่วง บุนนาค ) เสนาบดีสมุหพระกลาโหมเป็นผู้อำนวยการต่อเรือกำปั่นและบังคับบัญชาเรือกลไฟ หลวง ซึ่งจัดเป็นกรมหนึ่งเรียกว่า กรมอรสุมพล ถือว่าเป็นต้นกำเนิดของกองทัพเรือแห่งราชนาวีไทยในปัจจุบัน ในสมัยนี้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงโปรดการทหารเรืออย่างมากเป็นผู้อำนวยการต่อเรือกลไฟ เรือกลไฟลำแรกของไทยที่ต่อขึ้นในรัชกาลนี้คือ เรือสยามอรสุมพล นอกจากนี้ยังต่อเรือปืนขึ้นอีกหลายลำ อาทิ เรือราญรุกไพรี เรือศรีอยุธยาเดช เป็นต้น และตอนปลายรัชกาลได้ต่อเรือรบขนาดใหญ่ขึ้นคือ เรือสยามูประสดัมภ์ แล้วโปรดให้ตั้ง กรมเรือกลไฟขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2411

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณค่ะ ได้ศึกษาเพิ่มเติมเรื่องต้นราชกุล
    ช่วยเห็นทั้งแนวความคิด ขนบประเพณีไทย
    ช่วยเพิ่มมุมมองให้กับผู้สนใจ ได้เรียนรู้พัฒนาการมนุษย์อีกมุมหนึ่ง

    ตอบลบ